พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ
พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ
เล่ม | ชื่อคัมภีร์ | ปก | สารบัญ | เนื้อหาโดยย่อ | สาระสำคัญในเล่ม |
---|---|---|---|---|---|
1 | มหาวิภังค์ ภาค ๑ | สารบัญ | มหาวิภังค์ ภาค ๑ มีเนื้อหาเกี่ยวกับประมวลพุทธบัญญัติเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติของภิกษุสงฆ์ ความเป็นมาของการบัญญัติสิกขาบท แบ่งเป็น ๔ กัณฑ์ คือ ๑. เวรัญชกัณฑ์ ว่าด้วยเวรัญชพราหมณ์ ๒. ปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยปาราชิก ๔ สิกขาบท ๓. สังฆาทิเสสกัณฑ์ ว่าด้วยสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท ๔. อนิยตกัณฑ์ ว่าด้วยอนิยต ๒ สิกขาบท | ||
2 | มหาวิภังค์ ภาค ๒ | สารบัญ | มหาวิภังค์ ภาค ๒ มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธบัญญัติ (ต่อ) แบ่งเป็น ๕ กัณฑ์ คือ ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ว่าด้วยนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ล้วน ๙๒ สิกขาบท ๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ๗. เสขิยกัณฑ์ ว่าด้วยข้อที่ควรสำเหนียก ๗๕ สิกขาบท ๗. อธิกรณสมถะ ว่าด้วยอธิกรณสมถะ ๗ | ||
3 | ภิกขุนีวิภังค์ | ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยบทบัญญัติของภิกษุณีสงฆ์ แบ่งเป็น ๗ กัณฑ์ คือ ปาราชิกกัณฑ์ ๘ สิกขาบท สังฆาทิเสสกัณฑ์ ๑๗ สิกขาบท นิสสัคคิยกัณฑ์ ๓๐ สิกขาบท ปาจิตติยกัณฑ์ ๑๖๖ สิกขาบท ปาฏิเทสนียกัณฑ์ ๘ สิกขาบท เสขิยกัณฑ์ ๗๕ สิกขาบท และอธิกรณสมถะ ๗ รวมเป็น ๓๑๑ สิกขาบท โดยแบ่งเป็นอสาธารณสิกขาบท ๑๓๐ และสาธารณสิกขาบท ๑๘๑ | |||
4 | มหาวรรค ภาค ๑ | มหาวรรค ภาค ๑ มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๔ ขันธกะ คือ ๑. มหาขันธกะ ว่าด้วยเรื่องสำคัญ มี ๖๗ หัวข้อ ๒. อุโปสถขันธกะ ว่าด้วยอุโบสถ มี ๓๙ หัวข้อ ๓. วัสสูปนายิกขันธกะ ว่าด้วยวันเข้าพรรษา มี ๑๓ หัวข้อ ๔. ปวารณาขันธกะ ว่าด้วยปวารณา มี ๒๗ หัวข้อ รวมทั้งสิ้น ๑๔๖ หัวข้อ | |||
5 | มหาวรรค ภาค ๒ | มหาวรรค ภาค ๒ มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๖ ขันธกะ คือ ๕. จัมมขันธกะ ว่าด้วยหนัง มี ๑๓ หัวข้อ ๖. เภสัชชขันธกะ ว่าด้วยยารักษาโรค มี ๒๗ หัวข้อ ๗. กฐินขันธกะ ว่าด้วยกฐิน มี ๑๕ หัวข้อ ๘. จีวรขันธกะ ว่าด้วยจีวร มี ๓๒ หัวข้อ ๙. จัมเปยยขันธกะ ว่าด้วยภิกษุชาวกรุงจัมปา มี ๓๗ หัวข้อ ๑๐. โกสัมพิกขันธกะ ว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี มี ๑๐ หัวข้อ รวมทั้งสิ้น ๑๓๔ หัวข้อ | |||
6 | จูฬวรรค ภาค ๑ | จูฬวรรค ภาค ๑ มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๔ ขันธกะ คือ ๑. กัมมขันธกะ ตอนว่าด้วยนิคคหกรรม (การลงโทษ) ๒. ปาริวาสิกขันธกะ ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับปริวาส ๓. สมุจจยขันธกะ ว่าด้วยประมวลวิธีออกจากอาบัติสังฆาทิเสส ๔. สมถขันธกะ ว่าด้วยวิธีระงับอธิกรณ์ |
|||
7 | จูฬวรรค ภาค ๒ | จูฬวรรค ภาค ๒ มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๘ ขันธกะ คือ ๕. ขุททกวัตถุขันธกะ ๒ หัวข้อ ๖. เสนาสนขันธกะ ๒๖ หัวข้อ ๗. สังฆเภทขันธกะ ๑๑ หัวข้อ ๘. วัตตขันธกะ ๑๔ หัวข้อ ๙. ปาติโมกขัฏฐปนขันธกะ ๑๐ หัวข้อ ๑๐. ภิกขุนีขันธกะ ๓ หัวข้อ ๑๑. ปัญจสติกขันธกะ ๓ หัวข้อ ๑๒. สัตตสติกขันธกะ ตั้งหัวข้อเป็น ๒ ภาณวาร | |||
8 | ปริวาร | ปริวาร ว่าด้วยหมวดพระบาลีที่จัดเป็นหมวดหมู่ไว้เพื่อให้กุลบุตรเกิดความฉลาดในส่วนต่าง ๆ มีอาบัติเป็นต้น ที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งในมาติกาและในวิภังค์ คัมภีร์ปริวารเป็นคู่มือบรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัยตั้งแต่เล่มที่ ๑ ถึงเล่มที่ ๗ เป็นคัมภีร์ที่ประมวลเนื้อหาที่สำคัญต่าง ๆ มากล่าวไว้ จัดเป็นหัวข้อ ๒๑ ข้อ | |||
9 | ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค | ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ตอนว่าด้วยเรื่องกองศีล มี ๑๓ สูตร ได้แก่ (๑) พรหมชาลสูตร (๒) สามัญญผลสูตร (๓) อัมพัฏฐสูตร (๔) โสณทัณฑสูตร (๕) กูฏทันตสูตร (๖) มหาลิสูตร (๗) ชาลิยสูตร (๘) มหาสีหนาทสูตร (๙) โปฏฐปาทสูตร (๑๐) สุภสูตร (๑๑) เกวัฏฏสูตร (๑๒) โลหิจจสูตร (๑๓) เตวิชชสูตร | |||
10 | ทีฆนิกาย มหาวรรค | ทีฆนิกาย มหาวรรค ตอนว่าด้วยพระสูตรใหญ่ มี ๑๐ สูตร ได้แก่ (๑) มหาปทานสูตร (๒) มหานิทานสูตร (๓) มหาปรินิพพานสูตร (๔) มหาสุทัสสนสูตร (๕) ชนวสภสูตร (๖) มหาโควินทสูตร (๗) มหาสมยสูตร (๘) สักกปัญหสูตร (๙) มหาสติปัฏฐานสูตร (๑๐) ปายาสิราชัญญสูตร | |||
ชื่อคัมภีร์ | เนื้อหาโดยย่อ |