ยํ พฺราหฺมโณ อวาเทสิ วีณํ สมุขเวฐิโต
อณฺฑภูตา ภตา ภริยา ตาสุ โก ชาตุ วิสฺสเสติ.
ขุ.ชา.(บาลี) ๒๗/๖๒/๑๖
(พระราชาโพธิสัตว์ตรัสกับพราหมณ์ปุโรหิตถึงหญิงผู้ปรารถนาชายคนเดียวไม่มีว่า)
พราหมณ์ไม่รู้อุบายที่ภรรยาใช้ผ้าผูกหน้าแล้ว ใช้ให้ดีดพิณอยู่
ภรรยาที่เลี้ยงมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ (ยังทำได้เช่นนี้)
ใครจะพึงไว้ใจในภรรยาเหล่านั้นได้
ขุ.ชา.(ไทย) ๒๗/๖๒/๒๖
อัณทภูตชาดก เรื่องการไว้ใจภรรยาที่เลี้ยงดูมาแต่เกิด
พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าพรหมทัต ถูกภรรยาสาวที่พระองค์เลี้ยงดูมาตั้งแต่ในครรภ์ หลอกเอาผ้าปิดหน้าแล้วให้ชายชู้ตีศีรษะก่อนออกจากเรือน พระองค์จึงตรัสว่าหญิงผู้ปรารถนาชายคนเดียวไม่มีเลย
พระไตรปิฎกแก่นธรรม เล่ม ๔ ข้อ ๒ หน้า ๕๐๙
คำอธิบายในอรรถกถา
อรรถกถาอธิบายว่า บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า พราหมณ์ไม่รู้อุบายที่ภรรยาใช้ผ้าผูกหน้าแล้วใช้ให้ดีดพิณอยู่ (ยํ พฺราหฺมโณ อวาเทสิ วีณํ สมุขเวโต) ความว่า พราหมณ์ถูกนางใช้ผ้าสาฎกหนาผูกหน้า ให้บรรเลงพิณอยู่ เพราะเหตุใด ก็ไม่รู้เหตุนั้น เพราะนางต้องการลวงเขา จึงได้ทำอย่างนี้ แต่พราหมณ์ไม่รู้ว่าหญิงนั้นมีมายามาก หลงเชื่อมาตุคาม ได้สำคัญอย่างนี้ว่า “นางละอายเรา” เพราะเหตุนั้น พระราชาเมื่อจะประกาศความไม่รู้ของพราหมณ์นั้น จึงตรัสอย่างนี้ นี้เป็นคำอธิบายในข้อนี้
คำว่า ภรรยาที่เลี้ยงมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ (อณฺฑภูตา ภตา ภริยา) ความว่า พืชท่านเรียกว่า อัณฑะ คือ หญิงที่ถูกนำมาเลี้ยงตั้งแต่ยังเป็นพืช คือนำมาเลี้ยง แต่ในเวลาที่ยังไม่คลอดออกจากท้องของมารดานั่นเอง
อีกอย่างหนึ่ง คำว่า เลี้ยง (ภตา) มีความหมายว่า คำถาม คือถามว่า หญิงนั่นเป็นใคร ตอบว่า เป็นภรรยา คือเป็นปชาบดี เป็นหญิงบำเรอเท้า จริงอยู่ หญิงนั้น ท่านเรียกว่า “ภรรยา” เพราะต้องเลี้ยงดูด้วยอาหารและผ้าเป็นต้น เพราะมีความสังวรถูกทำลายแล้ว หรือเพราะต้องเลี้ยงด้วยโลกธรรม
ขุ.ชา.อ.(บาลี) ๒/๖๒/๗๕-๗๖
ขุ.ชา.อ.(ไทย) ๒/๖๒/๗๕-๗๖