Skip to content
หน้าหลัก
เกี่ยวกับสถาบัน
แนะนำสถาบัน
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์
อำนาจหน้าที่
โครงสร้างสถาบัน
คณะกรรมการประจำสถาบัน
คณะกรรมการบริหารกองทุน
บุคลากร
พระไตรปิฎก มจร
ความเป็นมาพระไตรปิฎก มจร
พระไตรปิฎก
อรรถกถา
ฎีกา
อนุฏีกา
ปกรณวิเสส
จำหน่ายพระไตรปิฎก
ติดต่อเรา
Menu
หน้าหลัก
เกี่ยวกับสถาบัน
แนะนำสถาบัน
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์
อำนาจหน้าที่
โครงสร้างสถาบัน
คณะกรรมการประจำสถาบัน
คณะกรรมการบริหารกองทุน
บุคลากร
พระไตรปิฎก มจร
ความเป็นมาพระไตรปิฎก มจร
พระไตรปิฎก
อรรถกถา
ฎีกา
อนุฏีกา
ปกรณวิเสส
จำหน่ายพระไตรปิฎก
ติดต่อเรา
พระไตรปิฎกฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ความเป็นมาพระไตรปิฎก มจร
พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ มหาจุฬาเตปิฎก และ อรรถกถาฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยเริ่มการตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎก และอรรถกถา เพื่อสมโภชงานเฉลิมฉลองครบ ๒๕ พุทธศตวรรษ (พุทธศักราช ๒๕๐๐)
พระไตรปิฎก
พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์หลักที่ได้ประมวลพระพุทธพจน์อันเป็นสัจธรรมคำสอนของระพุทธเจ้าไว้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุดยิ่งกว่าคัมภีร์อื่นใด นอกจากนี้ พระไตรปิฎกยังเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องยืนยันถึงวัสสายุกาลของพระพุทธศาสนาว่า ได้อุบัติขึ้นและดำรงอยู่สืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนานเพียงใด
อรรถกถา
อรรถกถา คือ คัมภีร์ที่พระมหาเถระรุ่นหลังรจนาขึ้น เพื่ออธิบายความในพระไตรปิฎก นับเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่คนรุ่นหลังที่สนใจอ่าน หรือศึกษาพระไตรปิฎกให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้อรรถกถายังมีลักษณะคล้ายกับเป็นกรอบบังคับให้การตีความในพระไตรปิฎกต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกันไปในตัวด้วย
ฎีกา-อนุฎีกา
ฎีกา หมายถึง คัมภีร์อธิบายเนื้อความของอรรถกถาและคัมภีร์อื่นที่มีความหมายซ่อนเร้นอยู่ เป็นคัมภีร์ที่เกิดขึ้นภายหลังคัมภีร์อรรถกถา โดยเลือกคำหรือความที่ยากในอรรถกถาขึ้นอธิบายให้เข้าใจง่าย
อนุฎีกา หมายถึง ฎีกาใหม่ที่แต่งเพิ่มเติมภายหลัง บ้างเรียกว่า อภินวฎีกา แปลว่า ฎีกาใหม่ อนุฎีกานั้นแต่งขึ้นมาเพื่ออธิบายเนื้อความในคัมภีร์ฎีกา ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อเห็นว่าพระฎีกาจารย์อธิบายความในคัมภีร์ฎีกายังไม่แจ่มแจ้ง
ปกรณวิเสส
ปกรณ์วิเสส คัมภีร์หรือหนังสือที่พิเศษแตกต่างไปจากคัมภีร์ทั้งหลายที่มีอยู่เดิม ที่ไม่ได้แต่งอธิบายธรรมะตามคัมภีร์ใดคัมภีร์หนึ่งโดยเฉพาะอย่างอรรถกถา ฎีกาและอนุฎีกา หากแต่เป็นคัมภีร์หรือหนังสือที่ทำนรจนาขึ้น เพื่อแสดงความคิดเห็นอันเป็นภูมิรู้หรือภูมิธรรมของผู้แต่ง โดยการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมจากคัมภีร์ต่างๆ กำหนดประเด็นหรือเนื้อหาได้ตามความประสงค์ของตนเอง