การปริวรรตสีหลัฏฐกถาของพระพุทธโฆสาจารย์

เมื่อคัมภีร์วิสุทธิมรรคที่พระพุทธโฆสะแต่งโดยสงฆ์ขอทดลองนี้สำเร็จลงแล้วโดย ๓ คัมภีร์ เทวดาทั้งหลายได้ให้สาธุการทั่วกัน ก็โดยสมัยนั้นแล ในมหาวิหารมีพระและผู้คนประชุมกันหลายแสน เห็นความอัศจรรย์ในวันนั้น จึงพากันดีใจ แซ่ซ้องสาธุการทั่วกัน เฉพาะหมู่ภิกษุย่อมกล่าวขวัญกันบ่อย ๆ ว่า พระพุทธโฆสะชาวพุทธคยาผู้นี้คงจะเป็นพระเมตไตรยโพธิสัตว์มาจุติเป็นแน่ ต่อแต่นั้นท้าวมหานามผู้มหาราชได้ทรงทราบข่าวอัศจรรย์ดังกล่าวนั้น จึงมีราชบุรุษหลายคนเป็นบริวาร เสด็จออกจากเมืองไปสู่มหาวิหาร ทรงไหว้ภิกษุสงฆ์แล้ว ทรงไหว้พระพุทธโฆสเถระผู้อายัสมาองค์นั้นด้วย ทรงเผดียงว่า ดีละพระคุณเจ้า ขอพระคุณจ้าจงรับภิกษาที่วังของข้าพเจ้าตราบเท่าที่การแปลจารึกพระธรรมจะสำเร็จลง พระพุทธโฆสะชาวพุทธคยานั้นรับแล้วโดยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล ภิกษุสงฆ์จึงได้ให้คัมภีร์พระไตรปิฎกซึ่งเป็นบาลี พร้อมด้วยคัมภีร์อรรถกถาซึ่งเป็นภาษาสิงหลแก่ท่าน ครั้งนั้น พระพุทธโฆสะจึงรับเอาคัมภีร์นั้นมา เข้าไปยังปราสาทแห่งหนึ่งซึ่งชื่อว่า ปธานฆร อันตั้งอยู่ในส่วนทิศทักษิณของมหาวิหารแล้วจึงแปลอรรถกถาภาษาสิงหลทั้งหมด ทำให้เป็นอรรถกถาของพระไตรปิฎกเป็นภาษา

สีหลัฏฐกถา ๓ คัมภีร์

อรรถกถานี้เป็นภาษาสิงหล มี ๓ คัมภีร์ คือ คัมภีร์มหาอรรถกถา ๑ คัมภีร์มหาปัจจรีย์ ๑ คัมภีร์กุรุนที ๑ อรรถกถาทั้ง ๓ คัมภีร์เหล่านี้ ชื่อว่า สีหลัฏฐกถา (คืออรรถกถาของชาวสิงหล และเป็นภาษาสิงหล)
๑. ที่ชื่อว่าคัมภีร์มหาอรรถกถา ได้แก่ อรรถกถาที่ผ่านมหาสังคีติครั้งแรกมาแล้ว ซึ่งพระเถระมีพระมหากัสสปะเป็นประมุขได้ทำและได้รับรองแล้ว อรรถถกถาที่ผ่านมหาสังดีติครั้งแรกนั้น พระมหามหินทเถระนำเอามาแล้วจึงเอาทำให้เป็นภาษาสิงหล จึงชื่อว่าสีหลัฏฐกถา
๒. ที่ชื่อว่าคัมภีร์มหาปัจจรีย์ ได้แก่ แพที่ติดฝั่งโดยภาษาสิงหลชื่อว่า ปัจจรีย์ มีอยู่ เพราะเหตุที่พระธรรมสังคาหกาจารย์องค์ใดองค์หนึ่ง หรือคณะใดคณะหนึ่ง ได้นั่งทำอรรถกถาที่แพชื่อปัจจจรีย์นั้น จึงชื่อว่าอรรถกถามหาปัจจรีย์
๓. ที่ชื่อว่าคัมภีร์กุรุนที ได้แก่ วิหารที่ทำขึ้นด้วยไม้เวฬุ (ไม้ใฝ่) ชนิดที่ชื่อว่า กุรุนที มีอยู่ เพราะเหตุที่อรรถกถานี้พระธรรมสังคาหกาจารย์องค์ใดองค์หนึ่ง หรือคณะใดคณะหนึ่ง นั่งในวิหารนั้นทำขึ้น แต่งขึ้นจึงชื่อว่าอรรถกถากุรุนที

อธิบายคัมภีร์สีหลัฏฐกถา

ครั้งนั้น พระพุทธโฆสะนั้นจึงได้แปลอรรถกถากุรุนทีนั้น ซึ่งเดิมเป็นภาษาสิงหลให้เป็นภาษามคธอันเป็นมูลภาษา แต่งขึ้นเป็นอรรถกถาวินัยปิฎก ตั้งชื่อว่า สมันตปาสาทิกา เพราะฉะนั้น ในอรรถกถาในวินัยปิฎกนั้น ท่านจึงกล่าวไว้แล้วว่า “เพื่อจะให้การอธิบายพระวินัยเป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้ง (ทำนองอรรถถา) ก็ดี เพื่อความเจริญแห่งพระศาสนาก็ดี พระพุทธโฆสะท่านนี้จึงได้แปล และแต่งอรรถกถาพระวินัยขึ้นเป็นภาษามคธ ก็แลอรรถกถาพระวินัยนั้นแต่งจบแล้วโดยครบถ้วน ท่านจึงให้ชื่อว่า สมันตปาสาทิกา มีคันถะ ๒๗,๐๐๐ ข้อ ที่ต้องอธิบายโดยประมาณ”

ในระหว่างนั้น ในด้านพระสุตตันตปิฎก ท่านจึงแปลภาษาสิงหลในมหาอรรถกถามาตั้งไว้เป็นอรรถถถาทีฆนิกาย ให้ชื่อว่า สุมังคลวิลาสินี โดยแต่งเป็นภาษามคธ เวลานั้น แต่งอรรถกถามัชฌิมนิกาย ในมหาอรรถกถาซึ่งเป็นภาษาสิงหลให้เป็นภาษามคธ ก็ชื่อว่า ปปัญจสูทนี และครั้งนั้นได้แปลภาษาสิงหล ในมหาอรรถกถา ตั้งไว้เป็นอรรถถถาสังยุตตนิกาย เป็นภาษามคธ ให้ชื่อว่า สารัตถปกาสินี และในเวลานั้นได้แปลภาษาสิงหลในมหาอรรถกถา แต่งเป็นธรรถกถาอังคุตตรนิกาย โดยเป็นภาษามคธให้ชื่อว่า มโมรถปูรณี
พระโบราณาจารย์ได้กล่าวไว้ในที่นั้นว่า “เพื่อจะให้การอธิบายพระสูตรเป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้ง (ทำนองอรถกถา)ก็ดี เพื่อความเจริญแห่งพระศาสนาก็ดี พระพุทธโฆสะท่านนี้จึงได้แปลและแต่งอรรถกถาพระสูตรขึ้นเป็น “ภาษามคธ” ก็แลอรรถกถาพระสูตรนั้นแต่งจบแล้วโดยครบถ้วน ท่านจึงให้ชื่อว่า อรรถกถา ๔ นิกาย (คือ ที. สุมังคลวิลาสินี, ม. ปปัญจสูทนี, ส.สารัตถปกาสินี, มโนรถปูรณี) มีคันถะ ๘๐,๐๐๐ ข้อ ที่ต้องอธิบายโดยประมาณ และได้แต่งอรรถกถาขุททกนิภายขึ้นโดยภาษามคธจบทั้งหมด มีคันถะที่ต้องแก้ ๓๗,๐๐๐๐ ข้อ ที่ต้องอธิบายโดยปริมาณ”
ในลำดับนั้น ในฝ่ายพระอภิธรรมปิฎก ท่านได้แปลภาษาสิงหลในอรรถกถามหาปัจจรีย์ ได้แต่งเป็นอรรถกถาพระอภิธรรมสังคณี ชื่อว่า อัฏฐสาลินี โดยเป็นมคธภาษาอันเป็นมูลภาษา ได้แต่งทำนองเดียวกัน เป็นอรรถกถาวิภังคปกรณ์ชื่อว่า สัมโมหวิโนทนี ได้แต่งอรรถกถาปัญจปกรณ์ ให้ชื่อว่าปรมัตถทีปนี ทั้งนี้เป็นภาษามคธอันเป็นมูลภาษา เพราะฉะนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า “เพื่อที่จะให้การอธิบายพระอภิธรรมเป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้ง (ทำนองอรรถกถา) ก็ดี เพื่อความเจริญแห่งพระศาสนาก็ดี พระพุทธโฆสะท่านนี้จึงได้แปลและแต่งอรรถกถาพระอภิธรรมขึ้นเป็นภาษามคธ ก็แลอรรถกถาพระอภิธรรมนี้แต่งจบโดยครบถ้วน ท่านจึงให้ชื่อว่าอัฏฐสาลินี เป็นต้น (คือ สํ.อัฏฐสาลินี, วิ. สัมโมหวีโนทนี, ธา.ปุ.ก.ป. ทั้งห้ารวมชื่อว่าปรมัตถทีปนี) มีคันถะ ๓๐,๐๐๐ ข้อ ที่ต้องอริบายโดยประมาณ (๓๐,๐๐๐๐ ข้อนี้เข้าใจว่าเฉพาะอัฏฐสาลินีคัมภีร์เดียว)
ที่ชื่อว่าคัมภีร์เถรวาทนั้น คือ วาทะอันพระเถระผู้เป็นอาจารย์เดิม ถือเอานัยแห่งบาลีรจนาแล้วในก่อน พระพุทธโฆสะได้ทำซึ่งอรรถกถาแห่งคัมภีร์แม้ทั้งหมด (ตั้งแต่ต้นจนถึงคัมภีร์เถรวาท) โดยให้เป็นภาษามคธ อรรถกถาแห่งพระปิฎกนั้นนำมาซึ่งประโยชน์แก่ชาวเมืองที่อยู่ในประเทศของตน และประเทศอื่นทั้งหมด ในที่สุดแห่งการแปลและแต่งอรรถกถาของปิฎกนี้แผ่นดินใหญ่ได้หวั่นไหวแล้วโดยประการต่างๆ อรรรถกถาของคัมภีร์ต่างๆ ทำขึ้นจบแล้ว โดยเวลาเพียงปีเดียว
ครั้งนั้น ท่านพระพุทธโฆสะได้ทำกิจของตนเสร็จแล้ว ต้องการจะไปวันทาต้นมาโพธิ์จึงได้วันทาภิกษุสงฆ์แล้ว อาปุจฉา(ลา)พระสังฆแถระแล้ว จึงได้ไปในชมพูทวีปอีก (พระพุทธโฆสะ, ญาโณทยปกรณ์, ๒๕๓๔ : บาลี ๓๐-๓๑, ไทย ๘๖-๘๘)