หนังสือพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระวินัยปิฎก ๘ เล่ม

เล่มที่ ๑

พระวินัยปิฎก  มหาวิภังค์  ภาค ๑

คำย่อ

วิ.มหา.

จำนวนหน้า

๔๘๔

สาระสำคัญ

ประมวลพุทธบัญญัติเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติของภิกษุสงฆ์ความเป็นมาของการบัญญัติสิกขาบท แบ่งเป็น ๔ กัณฑ์ เวรัญชกัณฑ์ ว่าด้วยเวรัญชพราหมณ์ ปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยปาราชิก ๔ สิกขาบท สังฆาทิเสสกัณฑ์ ว่าด้วยสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบทอนิยตกัณฑ์ ว่าด้วยอนิยต ๒ สิกขาบท

อรรถกถา

สมันตปาสาทิกา, กังขาวิตรณี, วินยสังคหอัฏฐกถา 

ฏีกา

สารัตถทีปนีฎีกา, วชิรพุทธิฎีกา, วิมติวิโนทนี

เล่มที่ ๑

พระวินัยปิฎก  มหาวิภังค์  ภาค ๑

คำย่อ

วิ.มหา.

จำนวนหน้า

๔๘๔

สาระสำคัญ

ประมวลพุทธบัญญัติเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติของภิกษุสงฆ์ความเป็นมาของการบัญญัติสิกขาบท แบ่งเป็น ๔ กัณฑ์ เวรัญชกัณฑ์ ว่าด้วยเวรัญชพราหมณ์ ปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยปาราชิก ๔ สิกขาบท สังฆาทิเสสกัณฑ์ ว่าด้วยสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบทอนิยตกัณฑ์ ว่าด้วยอนิยต ๒ สิกขาบท

อรรถกถา

สมันตปาสาทิกา, กังขาวิตรณี, วินยสังคหอัฏฐกถา 

ฏีกา

สารัตถทีปนีฎีกา, วชิรพุทธิฎีกา, วิมติวิโนทนี

เล่มที่ ๒

พระวินัยปิฎก  มหาวิภังค์  ภาค ๒

คำย่อ

วิ.มหา.

จำนวนหน้า

๗๓๗

สาระสำคัญ

ประมวลพุทธบัญญัติเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติ ของภิกษุสงฆ์ แบ่งเป็น ๕ กัณฑ์ คือ นิสสัคคิยกัณฑ์ ๓๐ สิกขาบท ปาจิตติยกัณฑ์ ๙๒ สิกขาบท ปาฏิเทสนียกัณฑ์ ๔ สิกขาบท เสขิยกัณฑ์ ๗๕ สิกขาบท อธิกรณสมถะ ๗

อรรถกถา

สมันตปาสาทิกา, กังขาวิตรณี, วินยสังคหอัฏฐกถา 

ฏีกา

สารัตถทีปนีฎีกา, วชิรพุทธิฎีกา, วิมติวิโนทนี

เล่มที่ ๓

พระวินัยปิฎก  ภิกขุนีวิภังค์

คำย่อ

วิ.ภิกฺขุนี.

จำนวนหน้า

๔๐๑

สาระสำคัญ

บทบัญญัติของภิกษุณีสงฆ์ แบ่งเป็น ๗ กัณฑ์ คือ ปาราชิกกัณฑ์ ๘ สิกขาบท สังฆาทิเสสกัณฑ์ ๑๗ สิกขาบท นิสสัคคิยกัณฑ์ ๓๐ สิกขาบท ปาจิตติยกัณฑ์ ๑๖๖ สิกขาบท ปาฏิเทสนียกัณฑ์ ๘ สิกขาบท เสขิยกัณฑ์ ๗๕ สิกขาบท และอธิกรณสมถะ ๗ รวมเป็น ๓๑๑ สิกขาบท 

อรรถกถา

สมันตปาสาทิกา, กังขาวิตรณี, วินยสังคหอัฏฐกถา 

ฏีกา

สารัตถทีปนีฎีกา, วชิรพุทธิฎีกา, วิมติวิโนทนี

เล่มที่ ๔

พระวินัยปิฎก  มหาวรรค ภาค ๑

คำย่อ

วิ.ม.

จำนวนหน้า

๓๙๓

สาระสำคัญ

เนื้อหาแบ่งออกเป็น ๔ ขันธกะ คือ (๑) มหาขันธกะ ว่าด้วยเรื่องสำคัญ มี ๖๗ หัวข้อ (๒) อุโปสถขันธกะ ว่าด้วยอุโบสถ มี ๓๙ หัวข้อ (๓) วัสสูปนายิกขันธกะ ว่าด้วยวันเข้าพรรษา มี ๑๓ หัวข้อ (๔) ปวารณาขันธกะ ว่าด้วยปวารณา มี ๒๗ หัวข้อ รวมทั้งสิ้น ๑๔๖ หัวข้อ 

อรรถกถา

สมันตปาสาทิกา, วินยสังคหอัฏฐกถา 

ฏีกา

สารัตถทีปนีฎีกา

เล่มที่ ๕

พระวินัยปิฎก  มหาวรรค ภาค ๒

คำย่อ

วิ.ม.

จำนวนหน้า

๓๗๔

สาระสำคัญ

เนื้อหาแบ่งออกเป็น ๖ ขันธกะ คือ (๕) จัมมขันธกะ ว่าด้วยหนัง ๑๓ หัวข้อ (๖) เภสัชชขันธกะ ว่าด้วยยารักษาโรค ๒๗ หัวข้อ (๗) กฐินขันธกะ ว่าด้วยกฐิน ๑๕ หัวข้อ (๘) จีวรขันธกะ ว่าด้วยจีวร ๓๒ หัวข้อ (๙) จัมเปยยขันธกะ ว่าด้วยภิกษุชาวกรุงจัมปา ๓๗ หัวข้อ (๑๐) โกสัมพิกขันธกะ ว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี ๑๐ หัวข้อ รวมทั้งสิ้น ๑๓๔ หัวข้อ 

อรรถกถา

สมันตปาสาทิกา, วินยสังคหอัฏฐกถา 

ฏีกา

สารัตถทีปนีฎีกา

เล่มที่ ๖

พระวินัยปิฎก  จูฬวรรค ภาค ๑

คำย่อ

วิ.จู.

จำนวนหน้า

๓๖๙

สาระสำคัญ

เนื้อหาแบ่งออกเป็น ๔ ขันธกะ คือ (๑) กัมมขันธกะ ตอนว่าด้วยนิคคหกรรม (๒) ปาริวาสิกขันธกะ ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับปริวาส (๓) สมุจจยขันธกะ ว่าด้วยประมวลวิธีออกจากอาบัติสังฆาทิเสส (๔) สมถขันธกะ ว่าด้วยวิธีระงับอธิกรณ์ 

อรรถกถา

สมันตปาสาทิกา, วินยสังคหอัฏฐกถา 

ฏีกา

สารัตถทีปนีฎีกา

เล่มที่ ๗

พระวินัยปิฎก  จูฬวรรค ภาค ๒

คำย่อ

วิ.จู.

จำนวนหน้า

๔๒๐

สาระสำคัญ

เนื้อหาแบ่งออกเป็น ๘ ขันธกะ คือ (๕) ขุททกวัตถุขันธกะ ๒ หัวข้อ (๖) เสนาสนขันธกะ ๒๖ หัวข้อ (๗) สังฆเภทขันธกะ ๑๑ หัวข้อ (๘) วัตตขันธกะ ๑๔ หัวข้อ (๙) ปาติโมกขัฏฐปนขันธกะ ๑๐ หัวข้อ (๑๐) ภิกขุนีขันธกะ ๓ หัวข้อ (๑๑) ปัญจสติกขันธกะ ๓ หัวข้อ (๑๒) สัตตสติกขันธกะ ตั้งหัวข้อเป็น ๒ ภาณวาร 

อรรถกถา

สมันตปาสาทิกา, วินยสังคหอัฏฐกถา 

ฏีกา

สารัตถทีปนีฎีกา

เล่มที่ ๘

พระวินัยปิฎก  ปริวาร

คำย่อ

วิ.ป.

จำนวนหน้า

๗๒๑

สาระสำคัญ

ว่าด้วยหมวดพระบาลีที่จัดเป็นหมวดหมู่ไว้ เพื่อให้กุลบุตรเกิดความฉลาดในส่วนต่างๆ มีอาบัติเป็นต้น ที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งในมาติกาและในวิภังค์ คัมภีร์ปริวารเป็นคู่มือบรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัยตั้งแต่เล่มที่ ๑-๗ เป็นคัมภีร์ที่ประมวลเนื้อหาที่สำคัญต่าง ๆ จัดเป็นหัวข้อ ๒๑ ข้อ 

อรรถกถา

สมันตปาสาทิกา, วินยสังคหอัฏฐกถา 

ฏีกา

สารัตถทีปนีฎีกา

พระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่ม

ทีฆนิกาย ๓ เล่ม

เล่มที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค  

คำย่อ

ที.สี.

จำนวนหน้า

๒๔๗

สาระสำคัญ

ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ตอนว่าด้วยเรื่องกองศีล มี ๑๓ สูตร ได้แก่ (๑) พรหมชาลสูตร (๒) สามัญญผลสูตร (๓) อัมพัฏฐสูตร (๔) โสณทัณฑสูตร (๕) กูฏทันตสูตร (๖) มหาลิสูตร (๗) ชาลิยสูตร (๘) มหาสีหนาทสูตร (๙) โปฏฐปาทสูตร (๑๐) สุภสูตร (๑๑) เกวัฏฏสูตร (๑๒) โลหิจจสูตร (๑๓) เตวิชชสูตร

อรรถกถา

สุมังคลวิลาสินี สีลขันธวัคคอัฏฐกถา

ฏีกา

ลีนัตถัปปกาสินี สีลขันธวัคคฎีกา

เล่มที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค  

คำย่อ

ที.ม.

จำนวนหน้า

๓๗๒

สาระสำคัญ

ทีฆนิกาย มหาวรรค ตอนว่าด้วยพระสูตรใหญ่ มี ๑๐ สูตร ได้แก่ (๑) มหาปทานสูตร (๒) มหานิทานสูตร (๓) มหาปรินิพพานสูตร (๔) มหาสุทัสสนสูตร (๕) ชนวสภสูตร (๖) มหาโควินทสูตร (๗) มหาสมยสูตร (๘) สักกปัญหสูตร (๙) มหาสติปัฏฐานสูตร (๑๐) ปายาสิราชัญญสูตร

อรรถกถา

สุมังคลวิลาสินี สีลขันธวัคคอัฏฐกถา

ฏีกา

ลีนัตถัปปกาสินี สีลขันธวัคคฎีกา

เล่มที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค  

คำย่อ

ที.ป.

จำนวนหน้า

๔๓๘

สาระสำคัญ

ทีฆนิกาย มหาวรรค ตอนว่าด้วยพระสูตรใหญ่ มี ๑๐ สูตร ได้แก่ มหาปทานสูตร มหานิทานสูตร มหาปรินิพพานสูตร มหาสุทัสสนสูตร ชนวสภสูตร มหาโควินทสูตร มหาสมยสูตร สักกปัญหสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร ปายาสิราชัญญสูตร

อรรถกถา

สุมังคลวิลาสินี สีลขันธวัคคอัฏฐกถา

ฏีกา

ลีนัตถัปปกาสินี สีลขันธวัคคฎีกา

มัชฌิมนิกาย ๓ เล่ม

เล่มที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์  

คำย่อ

ม.มู.

จำนวนหน้า

๕๕๔

สาระสำคัญ

พระสูตรขนาดปานกลาง (ตอนต้น) แบ่งเป็น ๕ วรรค ได้แก่ (๑) มูลปริยายวรรค ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรม ๑๐ สูตร (๒) สีหนาทวรรค ว่าด้วยการบันลือสีหนาท ๑๐ สูตร (๓) โอปัมมวรรค ว่าด้วยอุปมา ๑๐ สูตร (๔) มหายมกวรรค ว่าด้วยธรรมเป็นคู่หมวดใหญ่ ๑๐ สูตร (๕) จูฬยมกวรรค ว่าด้วยธรรมเป็นคู่หมวดเล็ก ๑๐ สูตร

อรรถกถา

ปปัญจสูทนี มูลปัณณาสกอัฏฐกถา

ฏีกา

ลีนัตถัปปกาสินี มูลปัณณาสกฎีกา

เล่มที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์  

คำย่อ

ม.ม.

จำนวนหน้า

๖๑๔

สาระสำคัญ

พระสูตรขนาดปานกลาง (ตอนกลาง) แบ่งเป็น ๕ วรรค ได้แก่ (๑) คหปติวรรค หมวดว่าด้วยคหบดี มี ๑๐ สูตร (๒) ภิกขุวรรค หมวดว่าด้วยภิกษุ มี ๑๐ สูตร (๓) ปริพพาชกวรรค หมวดว่าด้วยปริพพาชก มี ๑๐ สูตร (๔) ราชวรรค หมวดว่าด้วยพระราชา มี ๑๐ สูตร (๕) พราหมณวรรค หมวดว่าด้วยพราหมณ์ มี ๑๐ สูตร

อรรถกถา

ปปัญจสูทนี มัชฌิมปัณณาสกอัฏฐกถา

ฏีกา

ลีนัตถัปปกาสินี มัชฌิมปัณณาสกฎีกา

เล่มที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์  

คำย่อ

ม.อุ.

จำนวนหน้า

๕๑๐

สาระสำคัญ

หมู่พระสูตรขนาดปานกลาง (ตอนปลาย) แบ่งเป็น ๕ วรรค ได้แก่ (๑) เทวทหวรรค ว่าดว้ ยพระธรรมเทศนาที่เทวทหนิคม ๑๐ สูตร (๒) อนุปทวรรค ว่าด้วยธรรมตามลำดับบท ๑๐ สูตร (๓) สุญญตวรรค ว่าด้วยสุญญตา ๑๐ สูตร (๔) วิภังควรรค ว่าด้วยการจำแนกธรรม ๑๒ สูตร (๕) สฬายตนวรรค ว่าด้วยอายตนะหก ๑๐ สูตร

อรรถกถา

ปปัญจสูทนี อุปริปัณณาสกอัฏฐกถา

ฏีกา

ลีนัตถัปปกาสินี อุปริปัณณาสกฎีกา

สังยุตตนิกาย ๕ เล่ม

เล่มที่ ๑๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค  

คำย่อ

สํ.ส.

จำนวนหน้า

๓๙๖

สาระสำคัญ

พระสูตรที่มีคาถาที่เป็นประเภทร้อยกรองล้วน เป็นบทกวีที่มีกฎเกณฑ์ มีความไพเราะลึกซึ้ง มีทั้งหมด ๒๗๑ สูตร แบ่งออกเป็น ๑๑ สังยุต ได้แก่ (๑) เทวตาสังยุต ๘๑ สูตร (๒) เทวปุตตสังยุต ๓๐ สูตร (๓) โกสลสังยุต ๒๕ สูตร (๔) มารสังยุต ๒๕ สูตร (๕) ภิกขุนีสังยุต ๑๐ สูตร (๖) พรหมสังยุต ๑๕ สูตร (๗) พราหมณสังยุต ๒๒ สูตร (๘) วังคีสสังยุต ๑๒ สูตร (๙) วนสังยุต ๑๔ สูตร (๑๐) ยักขสังยุต ๑๒ สูตร (๑๑) สักกสังยุต ๒๕ สูตร

อรรถกถา

สารัตถัปปกาสินี สคาถวัคคอัฏฐกถา

ฏีกา

สารัตถัปปกาสินี สังยุตตฎีกา

เล่มที่ ๑๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานถวรรค  

คำย่อ

สํ.นิ.

จำนวนหน้า

๓๔๐

สาระสำคัญ

พระสูตรว่าด้วยธรรมที่เป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ มีทั้งหมด ๓๓๗ สูตร แบ่งเป็น ๑๐ สังยุต ได้แก่ (๑) นิทานสังยุต ๑๔๔ สูตร (๒) อภิสมยสังยุต ๑๑ สูตร (๓) ธาตุสังยุต ๓๙ สูตร (๔) อนมตัคคสังยุต ๒๐ สูตร (๕) กัสสปสังยุต ๑๓ สูตร (๖) ลาภสักการสังยุต ๔๓ สูตร (๗) ราหุลสังยุต ๒๒ สูตร (๘) ลักขณสังยุต ๒๑ สูตร (๙) โอปัมมสังยุต ๑๒ สูตร (๑๐) ภิกขุสังยุต ๑๒ สูตร

อรรถกถา

สารัตถัปปกาสินี นิทานวัคคอัฏฐกถา

ฏีกา

สารัตถัปปกาสินี สังยุตตฎีกา

เล่มที่ ๑๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค  

คำย่อ

สํ.ข.

จำนวนหน้า

๔๐๘

สาระสำคัญ

พระสูตรว่าด้วยวาระที่เกี่ยวกับขันธ์ มีทั้งหมด ๗๑๖ สูตร แบ่งเป็น ๑๓ สังยุต ได้แก่ (๑) ขันธสังยุต ๑๕๙ สูตร (๒) ราธสังยุต ๔๖ สูตร (๓) ทิฏฐิสังยุต ๙๖ สูตร (๔) โอกกันตสังยุต ๑๐ สูตร (๕) อุปปาทสังยุต ๑๐ สูตร (๖) กิเลสสังยุต ๑๐ สูตร (๗) สารีปุตตสังยุต ๑๐ สูตร (๘) นาคสังยุต ๕๐ สูตร (๙) สุปัณณสังยุต ๔๖ สูตร (๑๐) คันธัพพกายสังยุต ๑๑๒ สูตร (๑๑) วลาหกสังยุต ๕๗ สูตร (๑๒) วัจฉโคตตสังยุต ๕๕ สูตร (๑๓) ฌานสังยุต ๕๕ สูตร

อรรถกถา

สารัตถัปปกาสินี ขันธวารวัคคอัฏฐกถา

ฏีกา

สารัตถัปปกาสินี สังยุตตฎีกา

เล่มที่ ๑๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค  

คำย่อ

สํ.สฬา.

จำนวนหน้า

๔๙๖

สาระสำคัญ

พระสูตรว่าด้วยอายตนะ ๖ มีทั้งหมด ๔๒๐ สูตร แบ่งเป็น ๑๐ สังยุต ได้แก่ (๑) สฬายตนสังยุต มี ๒๔๘ สูตร (๒) เวทนาสังยุต มี ๓๑ สูตร (๓) มาตุคามสังยุต มี ๓๔ สูตร (๔) ชัมพุขาทกสังยุต มี ๑๖ สูตร (๕) สามัณฑกสังยุต มี ๒ สูตร (๖) โมคคัลลานสังยุต มี ๑๑ สูตร (๗) จิตตสังยุต มี ๑๐ สูตร (๘) คามณิสังยุต มี ๑๓ สูตร (๙) อสังขตสังยุต มี ๔๔สูตร (๑๐) อัพยากตสังยุต มี ๑๑ สูตร

อรรถกถา

สารัตถัปปกาสินี สฬายตนวัคคอัฏฐกถา

ฏีกา

สารัตถัปปกาสินี สังยุตตฎีกา

เล่มที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค  

คำย่อ

สํ.ม.

จำนวนหน้า

๖๕๘

สาระสำคัญ

พระสูตรว่าด้วยวาระใหญ่ มีทั้งหมด ๑,๐๐๘ สูตร แบ่งเป็น ๑๒ สังยุต ได้แก่ (๑) มัคคสังยุต ๑๘๑ สูตร (๒) โพชฌังคสังยุต ๑๘๔ สูตร (๓) สติปัฏฐานสังยุต ๑๐๔ สูตร (๔) อินทริยสังยุต ๑๑๔ สูตร (๕) สัมมัปปธานสังยุต ๔๔ สูตร (๖) พลสังยุต ๕๖ สูตร (๗) อิทธิปาทสังยุต ๕๔ สูตร (๘) อนุรุทธสังยุต ๒๔ สูตร (๙) ฌานสังยุต ๒๒ สูตร (๑๐) อานาปานสังยุต ๒๐ สูตร (๑๑) โสตาปัตติสังยุต ๗๔ สูตร (๑๒) สัจจสังยุต ๑๓๑ สูตร

อรรถกถา

สารัตถัปปกาสินี มหาวารวัคคอัฏฐกถา

ฏีกา

สารัตถัปปกาสินี สังยุตตฎีกา

อังคุตตรนิกาย ๕ เล่ม

เล่มที่ ๒๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต  

คำย่อ

องฺ.เอกก., องฺ.ทุก., องฺ.ติก.

จำนวนหน้า

๔๑๐

สาระสำคัญ

พระสูตรรวมทั้งหมด ๑,๗๒๒ สูตร แบ่งเป็น ๓ นิบาต ได้แก่ (๑) เอกกนิบาต หมวดพระสูตรมีหัวข้อธรรมจำนวน ๑ ข้อ แบ่งเป็นวรรค ๒๐ วรรค รวม ๖๑๙ สูตร (๒) ทุกนิบาต หมวดพระสูตรมีหัวข้อธรรมจำนวน ๒ ข้อ แบ่งเป็น ๓ ปัณณาสก์ และเปยยาล ๔ ข้อ รวม ๗๕๐ สูตร (๓) ติกนิบาต หมวดพระสูตรมีหัวข้อธรรมจำนวน ๓ ข้อ แบ่งเป็น ๓ ปัณณาสก์ และเปยยาล ๒ ข้อ รวม ๓๕๓ สูตร

อรรถกถา

มโนรถปูรณี เอกก-ทุก-ติกนิบาตอัฏฐกถา

ฏีกา

สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฏีกา

เล่มที่ ๒๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต  

คำย่อ

องฺ.จตุกฺก.

จำนวนหน้า

๓๙๒

สาระสำคัญ

หมวดพระสูตรมีหัวข้อธรรมพระสูตรละ ๔ ข้อ มีทั้งหมด ๗๘๒ สูตร แบ่งเป็น ๕ ปัณณาสก์ และเปยยาล ๑ ข้อ ได้แก่ (๑) ปฐมปัณณาสก์ มี ๕ วรรค มี ๕๐ สูตร (๒) ทุติยปัณณาสก์ มี ๕ วรรค มี ๕๐ สูตร (๓) ตติยปัณณาสก์ มี ๕ วรรค มี ๕๐ สูตร (๔) จตุตถปัณณาสก์ มี ๕ วรรค มี ๕๐ สูตร (๕) ปัญจมปัณณาสก์ มี ๗ วรรค มี ๕๐ สูตร (๖) ราคเปยยาล มี ๕๑๐ สูตร

อรรถกถา

มโนรถปูรณี จตุกกนิบาตอัฏฐกถา

ฏีกา

สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฏีกา

เล่มที่ ๒๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต  

คำย่อ

องฺ.ปญฺจก., องฺ.ฉกฺก.

จำนวนหน้า

๖๔๔

สาระสำคัญ

พระสูตรรวมทั้งหมด ๑,๘๐๑ สูตร แบ่งเป็น ๒ นิบาต ได้แก่
(๑) ปัญจกนิบาต หมวดพระสูตรมีหัวข้อธรรมพระสูตรละ ๕ ข้อ มีทั้งหมด ๑,๑๕๒ สูตร แบ่งเป็น ๕ ปัณณาสก์ ๒๖ วรรค และเปยยาล ๓ ข้อ
(๒) ฉักกนิบาต หมวดพระสูตรที่มีหัวข้อธรรมสูตรละ ๖ ข้อ มีทั้งหมด ๖๔๙ สูตร แบ่งเป็น ๒ ปัณณาสก์ ๑๒ วรรค และเปยยาล ๑ ข้อ

อรรถกถา

มโนรถปูรณี ปัญจก-ฉักกนิบาตอัฏฐกถา

ฏีกา

สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฏีกา

เล่มที่ ๒๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต  

คำย่อ

องฺ.สตฺตก., องฺ.อฏฺฐก., องฺ.นวก.

จำนวนหน้า

๕๖๔

สาระสำคัญ

พระสูตรทั้งหมด ๒,๑๙๐ สูตร แบ่งเป็น ๓ นิบาต ได้แก่
(๑) สัตตกนิบาต หมวดพระสูตรมีหัวข้อธรรมพระสูตรละจำนวน ๗ ข้อ มีทั้งหมด ๑,๑๓๒ สูตร
(๒) อัฏฐกนิบาต หมวดพระสูตรมีหัวข้อธรรมพระสูตรละจำนวน ๘ ข้อ มีทั้งหมด ๖๒๖ สูตร
(๓) นวกนิบาต หมวดพระสูตรมีหัวข้อธรรมพระสูตรละจำนวน ๙ ข้อ มีทั้งหมด ๔๓๒ สูตร

อรรถกถา

มโนรถปูรณี สัตตก-อัฎฐก-นวกนิบาตอัฏฐกถา

ฏีกา

สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฏีกา

เล่มที่ ๒๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต  

คำย่อ

องฺ.ทสก., องฺ.เอกาทสก.

จำนวนหน้า

๔๔๙

สาระสำคัญ

พระสูตรรวมทั้งหมด ๑,๔๑๗ สูตร แบ่งเป็น ๒ นิบาต ได้แก่
(๑) ทสกนิบาต หมวดพระสูตรมีหัวข้อธรรมพระสูตรละจำนวน ๑๐ ข้อ มีทั้งหมด ๗๔๖ สูตร แบ่งเป็น ๕ ปัณณาสก์ ๒๒ วรรค และเปยยาล ๑ ข้อ
(๒) เอกาทสกนิบาต หมวดพระสูตรมีหัวข้อธรรมพระสูตรละจำนวน ๑๑ ข้อ มีทั้งหมด ๖๗๑ สูตร แบ่งเป็น ๓ วรรค และเปยยาล ๑ ข้อ

อรรถกถา

มโนรถปูรณี ทสก-เอกาทสกนิบาตอัฏฐกถา

ฏีกา

สารัตถมัญชูสา อังคุตตรฏีกา

ขุททกนิกาย ๙ เล่ม

เล่มที่ ๒๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต

คำย่อ

ขุ.ขุ., ขุ.ธ., ขุ.อุ., ขุ.อิติ., ขุ.สุ.

จำนวนหน้า

๗๘๔

สาระสำคัญ

ขุททกนิกาย(๑) แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ ได้แก่
(๑) ขุททกปาฐะ รวมบทสวดย่อยๆ มี ๙ บท
(๒) ธรรมบท บทธรรมภาษิต มี ๔๒๓ คาถา
(๓) อุทาน พระสูตรแสดงคาถาพุทธอุทาน ๘๐ เรื่อง
(๔) อิติวุตตกะ พระสูตรที่เชื่อมความเข้าคาถาด้วยคำว่า “อิติ วุจฺจติ” รวม ๑๑๒ สูตร
(๕) สุตตนิบาต ชุมนุมพระสูตรที่เป็นคาถาล้วนหรือมีร้อยแก้ว  รวม ๗๐ สูตร

อรรถกถา

ปรมัตถโชติกา ขุททกปาฐอัฎฐกา, ธัมมปทอัฏฐกถา, ปรมัตถทีปนี อุทานอัฎฐกถา, ปรมัตถทีปนี อิติวุตตกอัฎฐกถา, ปรมัตถโชติกา สุตตนิปาตอัฎฐกา

ฏีกา

ธัมมปทมหาฎีกา

เล่มที่ ๒๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา

คำย่อ

ขุ.วิ., ขุ.เปต., ขุ.เถร., ขุ.เถรี.

จำนวนหน้า

๖๔๐

สาระสำคัญ

ขุททกนิกาย(๒) แบ่งเป็น ๔ คัมภีร์ ได้แก่
(๑) วิมานวัตถุ เรื่องผู้ได้วิมาน มี ๘๕ เรื่อง
(๒) เปตวัตถุ เรื่องเปรต มี ๕๑ เรื่อง
(๓) เถรคาถา เรื่องธรรมภาษิตของพระเถระ มี ๒๔๖ เรื่อง
(๔) เถรีคาถา เรื่องธรรมภาษิตของพระเถรี มี ๗๓ เรื่อง

อรรถกถา

ปรมัตถทีปนี วิมานวัตถุอัฎฐกถา, ปรมัตถโชติกา เปตวัตถุอัฎฐกา, ปรมัตถทีปนี เถรคาถาอัฎฐกถา, ปรมัตถทีปนี เถรีคาถาอัฎฐกถา

ฏีกา

เล่มที่ ๒๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

คำย่อ

ขุ.ชา.

จำนวนหน้า

๓๖๓

สาระสำคัญ

ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ แบ่งออกเป็น ๑๗ นิบาต คือ ตั้งแต่ เอกกนิบาตถึงเตรสกนิบาต เรียงตามลำดับ ๑-๑๓ ต่อจากนั้นเป็นปกิณณกนิบาต วีสตินิบาต ติงสตินิบาต และจัตตาลีสนิบาต ในแต่ละนิบาตจัดเป็นวรรค มีชาดกรวมทั้งหมด ๕๒๕ ชาดก

อรรถกถา

ชาตกอัฎฐกถา

ฏีกา

ชาตกปุราณฎีกา, ชาตกอภินวฎีกา

เล่มที่ ๒๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒

คำย่อ

ขุ.ชา.

จำนวนหน้า

๕๖๐

สาระสำคัญ

ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ มีชาดกรวมทั้งหมด ๒๒ ชาดก มี ๕ นิบาต ได้แก่ (๑๘) ปัญญาสนิบาต มี ๓ ชาดก (๑๙) สัฏฐินิบาต มี ๒ ชาดก (๒๐) สัตตตินิบาต มี ๒ ชาดก (๒๑) อสีตินิบาต มี ๕ ชาดก (๒๒) มหานิบาต มี ๑๐ ชาดก

อรรถกถา

ชาตกอัฎฐกถา

ฏีกา

ชาตกปุราณฎีกา, ชาตกอภินวฎีกา

เล่มที่ ๒๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส

คำย่อ

ขุ.ม.

จำนวนหน้า

๖๒๐

สาระสำคัญ

ว่าด้วยการอธิบายความหมายของพระพุทธวจนะในพระสูตร ๑๖ สูตร ได้แก่ (๑) กามสุตร (๒) คุหัฏฐกสุตร (๓) ทุฏฐัฏฐกสุตร (๔) สุทธัฏฐกสุตร (๕) ปรมัฏฐกสุตร (๖) ชราสุตร (๗) ติสสเมตเตยยสุตร (๘) ปสูรสุตร (๙) มาคันทิยสุตร (๑๐) ปุราเภทสุตร (๑๑) กลหวิวาทสุตร (๑๒) จูฬวิยูหสุตร (๑๓) มหาวิยูหสุตร (๑๔) ตุวฏกสุตร (๑๕) อัตตทัณฑสุตร (๑๖) สารีปุตตสุตร

อรรถกถา

สัทธัมมัปปัชโชติกา มหานิทเทสอัฏฐกถา

ฏีกา

เล่มที่ ๓๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

คำย่อ

ขุ.จู.

จำนวนหน้า

๕๐๒

สาระสำคัญ

ว่าด้วยปัญหาของมาณพ ๑๖ คน โดยจำแนกเป็น ๘ หัวข้อ ได้แก่ (๑) วัตถุคาถา (๒) มาณวปัญหา (๓) ปารายนัตถุติคาถา (๔) ปารายนานุคีติคาถา (๕) มาณวปัญหานิทเทส (๖) ปารายนัตถุติคาถานิทเทส (๗) ปารายนานุคีติคาถานิทเทส (๘) ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

อรรถกถา

สัทธัมมัปปัชโชติกา จูฬนิทเทสอัฏฐกถา

ฏีกา

เล่มที่ ๓๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฎิสัมภิทามรรค

คำย่อ

ขุ.ป.

จำนวนหน้า

๖๑๐

สาระสำคัญ

ปฏิสัมภิทามรรค เป็นผลงานแนวอภิธรรมของท่านพระสารีบุตรเถระ เนื้อหามีทั้งหมด ๓๐ กถา แบ่งออกเป็น ๓ วรรค ได้แก่
(๑) มหาวรรค หมวดใหญ่ มี ๑๐ กถา
(๒) ยุคนัทธวรรค หมวดการเจริญธรรมที่เป็นคู่ มี ๑๐ กถา
(๓) ปัญญาวรรค หมวดปัญญา มี ๑๐ กถา

อรรถกถา

สัทธัมมัปปัชโชติกา ปฏิสัมภิทามัคคอัฏฐกถา

ฏีกา

ปฎิสัมภิทามัคคคัณฐิ

เล่มที่ ๓๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑

คำย่อ

ขุ.อป.

จำนวนหน้า

๗๐๔

สาระสำคัญ

อปทาน ภาค ๑ มีทั้งหมด ๔๕๓ เรื่อง ประกอบด้วย
(๑) พุทธาปทาน ๑ เรื่อง
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน ๔๑ พระองค์
(๓) เถราปทาน (ตอนต้น) รวมทั้งหมดมีจำนวน ๔๑๐ รูป

อรรถกถา

วิสุทธชนวิลาสินี อปทานอัฏฐกถา

ฏีกา

เล่มที่ ๓๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒  พุทธวงศ์ จริยาปิฎก

คำย่อ

ขุ.อป., ขุ.พุทฺธ., ขุ.จริยา.

จำนวนหน้า

๗๗๘

สาระสำคัญ

แบ่งออกเป็น ๓ คัมภีร์ ได้แก่
(๑) อปทาน ประกอบด้วยเถราปทาน (ตอนปลาย)
และเถริยาปทาน มีทั้งหมด ๑๙๑ เรื่อง
(๒) คัมภีร์พุทธวงศ์ วงศ์ของพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์
(๓) คัมภีร์จริยาปิฎก ว่าด้วยพุทธจริยาสั้น ๆ รวม ๓๕ เรื่อง

อรรถกถา

วิสุทธชนวิลาสินี อปทานอัฏฐกถา, มธุรัตถวิลาสินี พุทธวงัสอัฏฐกถา,
ปรมัตถทีปนี จริยาปฏกอัฏฐกถา

ฏีกา

พระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม

เล่มที่ ๓๔

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี  

คำย่อ

อภิ.สงฺ.

จำนวนหน้า

๓๘๘

สาระสำคัญ

คัมภีร์ที่ประมวลสภาวธรรมหรือปรมัตถธรรมล้วน ๆ เนื้อหาแบ่งเป็น ๒ ส่วน ได้แก่
๑. มาติกา : ติกมาติกา ทุกมาติกา และสุตตันติกทุกมาติกา
๒. กัณฑ์ : จิตตุปปาทกัณฑ์ รูปกัณฑ์ นิกเขปกัณฑ์

อรรถกถา

อัฏฐสาสินีอัฏฐกถา

ฏีกา

ธัมมสังคณีมูลฎีกา, ธัมมสังคณีอนุฎีกา

เล่มที่ ๓๕

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์

คำย่อ

อภิ.วิ.

จำนวนหน้า

๖๙๐

สาระสำคัญ

คัมภีร์กระจายปรมัตถธรรม ยกหลักธรรมขึ้นมาแจกแจงแยกแยะอธิบาย
เรื่องที่ยกมาอธิบายมี ๑๘ เรื่อง คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ ปฏิจจสมุปบาท สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน  อิทธิบาท โพชฌงค์ มรรค ฌาน อัปปมัญญา ศีล ปฏิสัมภิทา ญาณ ขุททกวัตถุ และธัมมหทยวิภังค์

อรรถกถา

สัมโมหวิโนทนีอัฏฐกถา

ฏีกา

วิภังค์มูลฎีกา, วิภังค์อนุฎีกา

เล่มที่ ๓๖

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ

คำย่อ

อภิ.ธา., อภิ.ปุ.

จำนวนหน้า

๒๓๒

สาระสำคัญ

ธาตุกถา คำอธิบายเรื่องธาตุ มี ๕ มาติกา ได้แก่
๑. นยมาติกา ๒. อัพภันตรมาติกา ๓. นยมุขมาติกา ๔. ลักขณมาติกา ๕. พาหิรมาติกา
ปุคคลบัญญัติ คัมภีร์ที่แสดงปรมัตถธรรม มี ๖ ประการ ได้แก่
๑. ขันธบัญญัติ ๒. อายตนบัญญัติ ๓. ธาตุบัญญัติ ๔. สัจจบัญญัติ ๕. อินทริยบัญญัติ ๖. ปุคคลบัญญัติ

อรรถกถา

ปัญจปกรณอัฏฐกถา

ฏีกา

ปัญจปกรณมูลฎีกา, ปัญจปกรณอนุฎีกา

เล่มที่ ๓๗

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ

คำย่อ

อภิ.ก.

จำนวนหน้า

๙๔๖

สาระสำคัญ

คัมภีร์แสดงพระอภิธรรมด้วยวิธียกวาทะขึ้นโต้ตอบโดยทำนองปุจฉา-วิสัชนา ว่าด้วยกถาต่างๆ ถึง ๒๒๖ กถา มีหมวดธรรมสำคัญหลายหมวด เช่น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ อริยสัจ ตลอดจนมรรค ผล นิพพาน
พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระแสดงกถาวัตถุไว้จำนวนทั้งสิ้น ๑,๐๐๐ สูตร จัดเป็นฝ่ายสกวาที (เถรวาท) ๕๐๐ สูตร จัดเป็นฝ่ายปรวาที(อาจริยวาท) ๕๐๐ สูตร

อรรถกถา

ปัญจปกรณอัฏฐกถา

ฏีกา

ปัญจปกรณมูลฎีกา, ปัญจปกรณอนุฎีกา

เล่มที่ ๓๘

พระอภิธรรมปิฎก ยมก ภาค ๑

คำย่อ

อภิ.ย.

จำนวนหน้า

๘๕๔

สาระสำคัญ

ยมก ภาค ๑ แบ่งออกเป็น ๗ ยมก ได้แก่ (๑) มูลยมก ว่าด้วยหมวดสภาวธรรมที่เป็นมูล (๒) ขันธยมก ว่าด้วยหมวดขันธ์ (๓) อายตนยมก ว่าด้วยหมวดอายตนะ (๔) ธาตุยมก ว่าด้วยหมวดธาตุ (๕) สัจจยมก ว่าด้วยหมวดสัจจะ (๖) สังขารยมก ว่าด้วยหมวดสังขาร (๗) อนุสยยมก ว่าด้วยหมวดอนุสัย
พุทธองค์ทรงใช้วิธีการแสดงแบบอนุโลมและแบบปฏิโลมสลับกันเป็นคู่ๆ แต่ละคู่ประกอบด้วย (๑) อนุโลมปุจฉาและวิสัชนา (๒) ปฏิโลมปุจฉาและวิสัชนา

อรรถกถา

ปัญจปกรณอัฏฐกถา

ฏีกา

ปัญจปกรณมูลฎีกา, ปัญจปกรณอนุฎีกา

เล่มที่ ๓๙

พระอภิธรรมปิฎก ยมก ภาค ๒

คำย่อ

อภิ.ย.

จำนวนหน้า

๖๔๙

สาระสำคัญ

ยมก ภาค ๒ แบ่งออกเป็น ๓ ยมก ได้แก่
(๘) จิต ว่าด้วยหมวดจิต (๙) กุสลติกธรรม ว่าด้วยหมวดสภาวธรรมในกุสลติกะ (๑๐) อินทรีย์ ว่าด้วยหมวดอินทรีย์
พุทธองค์ทรงใช้วิธีการแสดงแบบอนุโลมและแบบปฏิโลมสลับกันเป็นคู่ๆ แต่ละคู่ประกอบด้วย (๑) อนุโลมปุจฉาและวิสัชนา (๒) ปฏิโลมปุจฉาและวิสัชนา

อรรถกถา

ปัญจปกรณอัฏฐกถา

ฏีกา

ปัญจปกรณมูลฎีกา, ปัญจปกรณอนุฎีกา

เล่มที่ ๔๐

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน ภาค ๑

คำย่อ

อภิ.ป.

จำนวนหน้า

๙๐๘

สาระสำคัญ

ว่าด้วยอารัมกถา อธิบายปัจจัยคือลักษณะความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน ๒๔ แบบ แสดงโดยอุทเทสและนิทเทส จากนั้นเริ่มธัมมานุโลมติกปัฏฐานตอนต้น (ปัฏฐานที่ ๑)  อธิบายติกมาติกา ความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งหมวดธรรมแม่บทหมวดละ ๓ ข้อ ประกอบด้วย (๑) กุสลติกะ (๒) เวทนาติกะ (๓) วิปากติกะ (๔) อุปาทินนติกะ (๕) สังกิลิฏฐติกะ โดยดำเนินไปตามวาระ ๗ มีปฏิจจวารเป็นวาระแรก ตามอำนาจของปัจจัยแต่ละชนิดทั้ง ๒๔ ชนิด มีเหตุปัจจัยเป็นปัจจัยแรก

อรรถกถา

ปัญจปกรณอัฏฐกถา

ฏีกา

ปัญจปกรณมูลฎีกา, ปัญจปกรณอนุฎีกา

เล่มที่ ๔๑

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน ภาค ๒

คำย่อ

อภิ.ป.

จำนวนหน้า

๖๖๘

สาระสำคัญ

ว่าด้วยธัมมานุโลมติกปัฏฐานตอนปลาย (ปัฏฐานที่ ๑) เป็นการอธิบายติกมาติกา ความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งหมวดธรรมแม่บทหมวดละ ๓ ข้อ จำนวน ๒๒ ติกะ (๖) วิตักกติกะ (๗) ปีติติกะ (๘) ทัสสเนนปหาตัพพติกะ ฯลฯ สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ โดยดำเนินไปตามวาระ ๗ มีปฏิจจวารเป็นวาระแรก ตามอำนาจของปัจจัยแต่ละชนิดทั้ง ๒๔ ชนิด มีเหตุปัจจัยเป็นปัจจัยแรก

อรรถกถา

ปัญจปกรณอัฏฐกถา

ฏีกา

ปัญจปกรณมูลฎีกา, ปัญจปกรณอนุฎีกา

เล่มที่ ๔๒

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน ภาค ๓

คำย่อ

อภิ.ป.

จำนวนหน้า

๔๘๒

สาระสำคัญ

ว่าด้วยธัมมานุโลมทุกปัฏฐาน (ปัฏฐานที่ ๒) อธิบายทุกมาติกา ความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งหมวดธรรมแม่บทหมวดละ ๒ ข้อ จำนวน ๑๐๐ ทุกะ แสดงทุกมาติกาตอนต้น จำนวน ๕๔ ทุกะ มีเหตุทุกะเป็นทุกะแรกและมีปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐทุกะเป็นทุกะสุดท้าย โดยดำเนินไปตามวาระและปัจจัย

อรรถกถา

ปัญจปกรณอัฏฐกถา

ฏีกา

ปัญจปกรณมูลฎีกา, ปัญจปกรณอนุฎีกา

เล่มที่ ๔๓

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน ภาค ๔

คำย่อ

อภิ.ป.

จำนวนหน้า

๖๔๗

สาระสำคัญ

ว่าด้วยธัมมานุโลมทุกปัฏฐาน (ปัฏฐานที่ ๒) อธิบายทุกมาติกา ความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งหมวดธรรมแม่บทหมวดละ ๒ ข้อ แสดงทุกมาติกาตอนปลาย จำนวน ๔๖ ทุกะ มีสารัมมณทุกะเป็นทุกะแรกและมีสรณทุกะเป็นทุกะสุดท้าย โดยดำเนินไปตามวาระและปัจจัย

อรรถกถา

ปัญจปกรณอัฏฐกถา

ฏีกา

ปัญจปกรณมูลฎีกา, ปัญจปกรณอนุฎีกา

เล่มที่ ๔๔

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน ภาค ๕

คำย่อ

อภิ.ป.

จำนวนหน้า

๘๔๐

สาระสำคัญ

ว่าด้วยปัฏฐานที่ ๓ – ๖ เกิดจากการนำปัฏฐานที่ ๑ กับที่ ๒ มาแสดงร่วมกันแบบสลับไปมาและแสดงร่วมกันเอง คือ (๓) ธัมมานุโลมทุกติกปัฏฐาน (๔) ธัมมานุโลมติกทุกปัฏฐาน (๕) ธัมมานุโลมติกติกปัฏฐาน (๖) ธัมมานุโลมทุกทุกปัฏฐาน ทั้ง ๖ ปัฏฐานนี้เรียกว่าฝ่ายอนุโลมนัย คือ นัยที่ไม่มีการปฏิเสธ

อรรถกถา

ปัญจปกรณอัฏฐกถา

ฏีกา

ปัญจปกรณมูลฎีกา, ปัญจปกรณอนุฎีกา

เล่มที่ ๔๕

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน ภาค ๖

คำย่อ

อภิ.ป.

จำนวนหน้า

๗๓๑

สาระสำคัญ

ว่าด้วยปัฏฐานที่ ๗ – ๒๔   แบ่งแยกตามนัยได้ดังนี้ 
(๑) ธัมมปัจจนียปัฏฐานนัย ปฏิเสธทั้งฝ่ายที่ถูกอาศัยและฝ่ายที่เกิดขึ้น (ปัฏฐานที่ ๗ – ๑๒)
(๒) ธัมมานุโลมปัจจนียปัฏฐานนัย ปฏิเสธเฉพาะธรรมที่เกิดขึ้น (ปัฏฐานที่ ๑๓ – ๑๘)
(๓) ธัมมปัจจนียานุโลมปัฏฐานนัย ปฏิเสธเฉพาะธรรมที่ถูกอาศัย (ปัฏฐานที่ ๑๙ – ๒๔)

อรรถกถา

ปัญจปกรณอัฏฐกถา

ฏีกา

ปัญจปกรณมูลฎีกา, ปัญจปกรณอนุฎีกา