อนุทิน การแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๓
๘ มิถุนายน ๒๕๓๓
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีคำสั่งที่ ๒๕/๒๕๓๓ ลงนามโดย พระอมรเมธาจารย์ (นคร เขมปาลี) แต่งตั้งคณะกรรมการวางนโยบายการแปลพระไตรปิฎก มีพระเทพเวที(ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นที่ปรึกษา พระเมธีรัตนดิลก (จรรยา ชินวํโส) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการในขณะนั้น เป็นประธานกรรมการ พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต) รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และวางแผนในขณะนั้น เป็นรองประธานกรรมการ และ ร.ท. บรรจบ บรรณรุจิ เป็นกรรมการและเลขานุการ
๓๐ สิงหาคม ๒๕๓๓
พระเมธีรัตนดิลก (จรรยา ชินวํโส) มีบันทึกถึงอธิการบดี ส่งแนวการแปล พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ ซึ่งกำหนดไว้ ๕ ข้อ
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๕
๑๓ มิถุนายน ๒๕๓๕
สภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๓๕ เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๓๕ พระมหาสมชัย กุสลจิตโต (ปัจจุบันคือพระศรีปริยัติโมลี) ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการในขณะนั้น ได้เสนอโครงการสมโภชพระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหา จุฬาเตปิฏก ที่ประชุมได้เสนอข้อคิดเห็นว่า มหาวิทยาลัยควรจัดทำโครงการแปลและจัด พิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ
๒ กรกฎาคม ๒๕๓๕
มหาวิทยาลัย มีหนังสือที่ มจร ๐๐๑/๙๔ ลงนามโดยพระอมรเมธาจารย์ (นคร เขมปาลี) อธิการบดี ถึงนายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี ขอความอุปถัมภ์โครงการแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ โดยจัด ทำโครงการแปล และจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเสนอแนบไปด้วย รวมเป็นเงินทั้ง ๓๓,๑๑๑,๖๖๐ บาท
๑๒ กันยายน ๒๕๓๕
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาเป็นประธานงาน สมโภชพระไตรปิฎกและอรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร ครั้นเสร็จการพิธีพระราชทานของที่ระลึกแล้ว พระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ) นายกสภามหาวิทยาลัย นำเสด็จพระราชดำเนินขึ้นสู่อาคารมหาวิทยาลัย เพื่อทรงตัดแถบแพรเปิดนิทรรศการ ขณะเข้าไปชมห้องทำงานตรวจชำระพระ ไตรปิฎกและอรรถกถา ทรงสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินงาน พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้ถวายพระพรให้ทรงทราบเกี่ยว กับโครงการจัดแปลพระไตรปิฎกให้ง่ายแก่ประชาชนทั่วไปและเยาวชน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้มีพระราชกระแสรับสั่งว่า “เป็นการดี เหมาะสมแล้ว แต่อย่าได้ทิ้งของเก่า หรือให้รักษาแบบอย่างเอาไว้ เมื่อมีบทนำเรื่อง ในแต่ละเล่ม ก็ควรให้มีอรรรถาธิบายเป็นทำนองเชิงอรรถไว้ด้วย จะได้ทราบที่มา และผู้ประสงค์ศึกษาโดยพิสดารอาจสืบค้นที่มาในตัวพระไตรปิฎกและอรรถกถา- ฎีกาได้”
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๖
๑๔ มกราคม ๒๕๓๖
คณะผู้ดำเนินงานเบื้องต้น มีพระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เป็น ประธานที่ประชุม ได้ประชุมพิจารณาโครงการแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ซึ่งสภามหาวิทยาลัยได้ให้ความเห็นชอบแล้ว คณะผู้ดำเนินงานได้ตั้งชื่อโครงการว่า “โครงการแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถา ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” กรรมการโครงการนี้ ประกอบด้วย
๑. กรรมการที่ปรึกษา
๒. กรรมการบริหาร
๓. กรรมการแปล
๔. กรรมการตรวจสำนวน
คณะกรรมการบริหารโครงการ ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะประมวลงาน เสนองาน ติดตามงาน และประสานกรรมการแต่ละฝ่าย โดยที่ประชุมเสนอรายชื่อกรรมการบริหารโครงการ ดังนี้
๑. พระศรีสุทธิพงศ์ (อาทร อินฺทปญฺโญ) เป็นประธานบริหารโครงการ
๒. พระมหาชนะ เขมจิตฺโต เป็นรองประธานบริหารโครงการ
๓. พระมหาสถิตย์ ถาวโร เป็นนักวิชาการ
๔. นายแสวง อุดมศรี เป็นเลขานุการ
๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖
มหาวิทยาลัยมีหนังสือที่ มจร ๐๐๑/๕๔๐ ลงนามโดย พระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ) นายกสภามหาวิทยาลัย ถึงสำนักราชเลขาธิการ แจ้งความประสงค์ขอเจริญพระราชศรัทธา ทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี ทรงเป็นประธานโครงการแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา
๒๓ มีนาคม ๒๕๓๖
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีประกาศมหาวิทยาลัยที่ ๖๗/๒๕๓๖ แต่งตั้ง คณะกรรมการโครงการพระไตรปิฎกและคัมภีร์พุทธศาสน์ ประกอบด้วยกรรมการ ๒ คณะ คือ
(๑) คณะกรรมการอำนวยการ ๒๐ รูป/คน มีพระอมรเมธาจารย์ เป็นประธาน พระเมธีธรรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เป็นรองประธาน พระศรีสุทธิพงศ์ (อาทร อินฺทปญฺโญ) เป็นกรรมการและเลขานุการ
(๒) คณะกรรมการบริหาร ๘ รูป/คน มีพระศรีสุทธิพงศ์ (อาทร อินฺทปญฺโญ) เป็นประธาน นายแสวง อุดมศรี เป็นกรรมการและเลขานุการ
๗ เมษายน ๒๕๓๖
สำนักราชเลขาธิการ มีหนังสือที่ รล ๐๐๐๗/๑๐๗๖ ลงนามโดยท่านผู้หญิง มนัสนิตย์ วณิกกุล แจ้งให้มหาวิทยาลัยทราบว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเป็นองค์ประธานอุปถัมภ์โครงการแปลและจัดพิมพ์ พระไตรปิฎกภาษาไทย
๒๑ เมษายน ๒๕๓๖
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีหนังสือที่ ๐๐๑/๕๙๖ ลงนามโดย พระอมร- เมธาจารย์(นคร เขมปาลี) ถึงพระสุเมธาธิบดี อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ขออนุญาตใช้ตำหนักสมเด็จวัดมหาธาตุ เป็นสถานที่ทำการแปลพระไตรปิฎกเป็น ภาษาไทย และตรวจชำระคัมภีร์พุทธศาสตร์
๙ กรกฎาคม ๒๕๓๖
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และ รองประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการชำระพระไตรปิฎกและคัมภีร์พุทธศาสน์ ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโครงการชำระพระไตรปิฎกและคัมภีร์ พุทธศาสน์ ณ ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุ และได้แจ้งที่ประชุมว่า เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาแนวการ แปลพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๑. แปลโดยอรรถ ด้วยสำนวนภาษาไทยที่เห็นว่าจะเป็นที่เข้าใจง่ายที่สุดเท่า ที่จะสามารถทำได้ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจ หรือสามารถใช้ศึกษาพุทธธรรมด้วยตนเองได้ ให้ได้ความตรงกับความหมายและสาระสำคัญ ตามพระไตรปิฎก ภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณณาชวิทยาลัย ไม่ผิดเพี้ยนทั้งอรรถและพยัญชนะ
๒. เพื่อให้การแปลได้เป็นไปตามหลักการข้อ ๑ เมื่อจะแปลเรื่องใดหรือสูตร ใดให้อ่านและศึกษาเรื่องนั้นให้ทั่วถึงให้เข้าใจแจ่มแจ้งทั้งอรรถและพยัญชนะโดยตีความคำศัพท์ทั้งโดยอรรถ และพยัญชนะตลอดถึงวิเคราะห์ดูความมุ่งหมาย ในการ แสดงเรื่องหรือสูตรนั้น ๆ โดยทั่วถึงแล้วจึงแปลเป็นภาษาไทย
๓. ในการตีความดังกล่าวในข้อ ๒ ให้ตรวจสอบกับคำอธิบายในคัมภีร์อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ของพระไตรปิฎกเล่มและตอนนั้น ๆ ตลอดถึงคัมภีร์ศัพทศาสตร์และ ปกรณ์ต่าง ๆ ให้ทั่วถึงและให้เทียบเคียงกับสำนวนพระไตรปิฎก ฉบับแปลภาษาอังกฤษด้วย
๔. คำศัพท์ที่เป็นหัวข้อธรรม เช่น อิทธิบาท ๔ หรือข้อธรรมย่อยอันเป็น รายละเอียดของหัวข้อธรรม เช่น ฉันทะ วิริยะ เป็นต้น ให้แปลทับศัพท์ไว้ แล้วเขียนคำแปลถอดความกัน ไปไว้ภายในเครื่องหมายวงเล็บเล็ก เช่น อิทธิบาท ๔ (คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย)
๕. ถ้าศัพท์ใดที่เป็นชื่อข้อธรรม หรือชื่อหัวข้อธรรมย่อยดังกล่าวแล้ว ในข้อ ๔ ปรากฏซ้ำซ้อนกันในเรื่องเดียวกันหรือสูตรเดียวกัน ให้แปลทับศัพท์ควบคู่กับแปลถอดความในวงเล็บเล็ก เฉพาะคำที่ปรากฏครั้งแรกเท่านั้น คำต่อมาให้แปล ทับศัพท์อย่างเดียว
๖. ให้รักษาเอกภาพการแปลไว้ อย่าให้มีความลักลั่นในการแปล กล่าวคือ เมื่อคำศัพท์อย่างเดียวกันมีปรากฏในที่หลายแห่งหรือหลายสูตร ถ้ามีความหมายอย่างเดียวกันให้แปลตรงกันหรือเมื่อข้อธรรมอย่างเดียวกันมีปรากฏในหลายที่ หลายแห่งถ้ามีนัยอย่างเดียวกันให้แปลให้ตรงกัน เช่น ข้อความจากพระวินัยปิฎกบ้าง หรือพระสุตตันตปิฎกบ้าง ที่นำมากล่าวอ้างอิงไว้ในพระอภิธรรม ให้แปลตรง กันทั้งสองปิฎก พร้อมทั้งทำเชิงอรรถบอกที่มาของข้อความหรือของสูตรนั้น ๆ ด้วย
๗. ที่ใดมีข้อควรรู้เป็นพิเศษ หรือเป็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัย ให้ทำเชิงอรรถ แสดงความเห็นหรือเหตุผลในการวินิจฉัยไว้ด้วย เช่น พระบาลีที่กล่าวถึงพุทธธรรมโดยบอกเพียงจำนวนไม่ให้รายละเอียดไว้ เช่น สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ เป็นต้น หรือมิได้บอกจำนวนและรายละเอียดไว้ ให้ทำเชิงอรรถที่บอกที่มาของรายละเอียด นั้นด้วย เมื่อพบว่ามีจำนวนและรายละเอียด อนึ่ง ที่ใดมีคำศัพท์ที่แปลยาก อาจแปลได้หลายนัยหรือพบว่ามีมติในการตีความไว้หลายอย่าง เมื่อตัดสินแปลคำนั้นอย่างใดแล้ว ให้ทำเชิงอรรถแสดงมติและ เหตุผลในการแปลนั้นไว้ด้วย
๘. ในการแปล ให้ลงเลขวรรค เลขสูตร เลขข้อ และเลขเรื่อง ให้ตรงกับพระ ไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๙. ให้มีคำนำ หรือคำปรารภ สารบัญเรื่อง และคัมภีร์ต่าง ๆ ทำนองเดียวกับพระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมีคณะบรรณาธิการคณะหนึ่งทำหน้าที่เขียนคำนำหรือคำปรารภ บทนำ อภิธานศัพท์ และเชิงอรรถ
๖ สิงหาคม ๒๕๓๖
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีหนังสือที่ มจร ๐๐๑/๖๙๑ ลงนามโดย พระอมรเมธาจารย์ (นคร เขมปาลี) นัดประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการชำระพระไตรปิฎกและคัมภีร์พุทธศาสน์ เพื่อพิจารณาแก้ไขอนุมัติแนวการแปล พระไตรปิฎกที่คณะกรรมการได้จัดทำเป็นร่างไว้
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๗
๖ มกราคม ๒๕๓๗
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีหนังสือที่ มจร ๐๐๑/๙๑๗ ลงนามโดย พระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ) ถึง ฯพณฯ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ขอเชิญเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ในพิธีเปิดประชุมการแปลพระไตรปิฎกและ กล่าวสุนทรพจน์ ในวันอังคารที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ เวลา ๑๕.๓๐ น.
๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีประกาศมหาวิทยาลัย ๓ ฉบับ คือ
(๑) ประกาศมหาวิทยาลัยที่ ๑/๒๕๓๗ ลงนามโดยพระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ) นายกสภามหาวิทยาลัย แต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาการแปลพระไตรปิฎก จำนวน ๖๖ รูป มีสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต) เป็นประธาน
(๒) ประกาศมหาวิทยาลัยที่ ๒/๒๕๓๗ ลงนามโดย พระสุเมธาธิบดี นายกสภามหาวิทยาลัย แต่งตั้งกรรมการตรวจสำนวนการแปลพระไตรปิฎก จำนวน ๕๒ รูป/คน มีพระวิสุทธิวงศาจารย์ (พลอย ญาณสํวโร) เป็นประธาน พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เป็นกรรมการและเลขานุการ
(๓) ประกาศมหาวิทยาลัยที่ ๓/๒๕๓๗ ลงนามโดยพระสุเมธาธิบดี แต่งตั้งกรรมการแปลพระไตรปิฎก จำนวน ๔๒ รูป/คน มีพระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาศ ญาณวโร) เป็นประธาน พระศรีสุทธิพงศ์ (อาทร อินฺทปญฺโญ) เป็นกรรมการ และเลขานุการ
๑๗ มกราคม ๒๕๓๗
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีประกาศมหาวิทยาลัยที่ ๕/๒๕๓๗ ลงนาม โดยพระอมรเมธาจารย์ (นคร เขมปาลี) อธิการบดี แต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพิธีเปิดประชุมการแปลพระไตรปิฎก ประกอบด้วยกรรมการ ๒ คณะ คือ
(๑) คณะกรรมการอำนวยการ จำนวน ๙ รูป มีพระอมรเมธาจารย์ เป็น ประธาน
(๒) คณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน ๓๓ รูป/คน มีพระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เป็นประธาน พระศรีสุทธิพงศ์(อาทร อินฺทปญฺโญ) เป็น กรรมการและเลขานุการ
๒๑ มกราคม ๒๕๓๗
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีประกาศมหาวิทยาลัยที่ ๕/๒๕๓๗ ลงนาม โดยพระอมรเมธาจารย์ (นคร เขมปาลี) อธิการบดี แต่งตั้งคณะทำงานพิธีเปิดประชุมการแปลพระไตรปิฎก ประกอบด้วยกรรมการ ๗ คณะ คือ
(๑) คณะทำงานฝ่ายสถานที่และพิธีกรรม มีพระเมธีธรรมาจารย์ เป็น ประธาน นายแสวง อุดมศรี เป็นคณะทำงานและเลขานุการ
(๒) คณะทำงานฝ่ายประชาสัมพันธ์ มีพระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ เป็น ประธาน พระมหาโชว์ ทสฺสนีโย เป็นคณะทำงานและเลขานุการ
(๓) คณะทำงานฝ่ายสูจิบัตร มีพระมหาเจิม สุวโจ เป็นประธาน พระมหาลี ลกฺขณญาโณ เป็นคณะทำงานและเลขานุการ
(๔) คณะทำงานฝ่ายปฏิคมและไทยธรรม มีพระครูวรกิจจาภรณ์ เป็นประธาน พระประสาร จนฺทสาโร เป็นคณะทำงานและเลขานุการ
(๕) คณะทำงานฝ่ายสวัสดิการ มีพระครูวิชัยธรรมคุณ เป็นประธาน พระ มหาประสิทธิ์ สิริปญฺโญ เป็นคณะทำงานและเลขานุการ
(๖) คณะทำงานฝ่ายเหรัญญิก มีพระครูคัมภีร์ปัญญาวิกรม เป็นประธาน นายสมศักดิ์ บุญปู่ เป็นคณะทำงานและเลขานุการ
(๗) คณะทำงานฝ่ายเลขานุการ มีพระศรีสุทธิพงศ์ เป็นประธาน พระ มหาไสว โชติโก เป็นคณะทำงานและเลขานุการ
๒๑ มกราคม ๒๕๓๗
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีหนังสือที่ นร ๐๑๐๔/๑๒๘๒ ลงนาม โดย นายเกษม อุณหสุวรรณ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ถึงพระสุเมธาธิบดี นายากสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แจ้งว่า นายกรัฐมนตรียินดีรับเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ในพิธีเปิดประชุมการแปลพระไตรปิฎกและกล่าวสุนทรพจน์ ในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ เวลา ๑๕.๓๐ น. ณ พระ อุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
คณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง ได้จัดพิธีประชุมการแปลพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ พระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ มีกรรมการทุกคณะ และเจ้าหน้าที่ ครู อาจารย์มหาวิทยาลัยเข้า ร่วม สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณณโชโต) เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร และกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานฝ่ายบรรพชิต ฯพณฯ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์และกล่าวสุนทรพจน์ ในพิธีเปิดประชุมการแปลพระไตรปิฎกครั้งนี้ พระเถรานุเถระ และพุทธ ศาสนิกชนเข้าร่วมพิธีอย่างพร้อมเพรียงกัน เมื่อเสร็จพิธี ฯพณฯ ชวน หลีกภัย เกิดศรัทธาอย่างยิ่ง ได้กล่าวกับพระราชวรมุนี(ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อธิการบดี ซึ่ง ขณะนั้นเป็นที่ “พระเมธีธรรมาภรณ์” รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ขณะเดินไปส่งที่รถว่า “รัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณสนับสนุนงานพระศาสนาครั้งนี้”
๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีหนังสือที่ มจร ๐๐๑/๙๘๗ ลงนามโดย พระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ) นายกสภามหาวิทยาลัย เจริญพร ฯพณฯ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ขออุปถัมภ์งบประมาณอุดหนุนโครงการแปลและ จัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีหนังสือที่ มจร ๐๐๑/๙๙๓ ถึงสำนัก เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ขอเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี เพื่อนำหนังสือของนายกสภามหาวิทยาลัย ที่จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการแปล พระไตรปิฎก
๔ มีนาคม ๒๕๓๗
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีหนังสือที่ นร ๐๑๐๔/๔๐๘๗ ลงนาม โดย นายเกษม อุณหสุวรรณ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง นมัสการ พระอมรเมธาจารย์ (นคร เขมปาลี) อธิการบดีมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แจ้งให้ ทราบว่า นายกรัฐมนตรียินดีอนุญาตให้เข้าพบ ในวันอังคารที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๗ เวลา ๑๕.๓๐ น. ณ ห้องรับรอง ชั้น ๒ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
๑๐ มีนาคม ๒๕๓๗
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีหนังสือที่ มจร ๐๐๑/๑๐๑๒ ลงนามโดยพระ สุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ) นายกสภามหาวิทยาลัย เจริญพร ฯพณฯ ชวน หลีกภัย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ขออุปถัมภ์งบประมาณอุดหนุนโครงการแปลและ จัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ เพื่อให้อธิการบดีนำไปมอบในการเข้าพบ ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
๑๕ มีนาคม ๒๕๓๗
พระอมรเมธาจารย์ (นคร เขมปาลี) อธิการบดี (ปัจจุบัน คือ พระราชรัตนโมลี ประธานที่ปรึกษาอธิการบดี และอุปนายกสภามหาวิทยาลัย) และพระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและคณบดีบัณฑิต วิทยาลัย (ปัจจุบัน คือ พระราชวรมุนี อธิการบดี) เข้าพบ ณ ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล ฯพณฯ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ในการเข้าพบนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ(นายบดี จุณณานนท์) ได้เข้าร่วมสนทนาด้วย นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้สำนักงบประมาณ จัดสรรงบประมาณกลางอุดหนุนโครงการในปีแรก
๕ เมษายน ๒๕๓๗
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีหนังสือที่ มจร ๐๐๑/๑๐๓๗ ลงนามโดย พระอมรเมธาจารย์ (นคร เขมปาลี) อธิการบดี เจริญพร อธิบดีกรมการศาสนา เพื่อเบิกเงินอุดหนุนโครงการแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทย พร้อม กันเสนอโครงการไปด้วย โดยระบุวงเงินงบประมาณที่ขอในปี ๒๕๓๗ จำนวน ๒,๑๒๗,๒๕๐ บาท
๕ เมษายน ๒๕๓๗
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และรองประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการชำระพระไตรปิฎกและคัมภีร์พุทธศาสน์ ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ ณ สำนักธรรมวิจัย และได้กล่าว ถึงข้อเสนอของกรรมการสภามหาวิทยาลัยว่า “การแปลหรือตรวจสำนวนการแปล พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ ควรจะยึดพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับใดฉบับหนึ่งเป็นแนว จะช่วยทำให้การแปลหรือตรวจสำนวนการแปลไม่ลักลั่น อาจใช้พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นแนวก็ได้” ที่ประชุมรับข้อเสนอนี้ และเสนอคณะกรรมการ แปลอ่านพระไตรปิฎกทุกฉบับ
๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๗
สำนักงบประมาณ มีหนังสือที่ นร ๐๔๑๐/๓๐๖๐๐ ลงนามโดยนายบดี จุณณานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อนุมัติให้กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ ๒๕๓๗ งบกลาง จำนวน ๒,๑๒๗,๒๕๐ บาท นอกจากนี้ สำนักงบประมาณได้เสนอว่า สำหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อ การนี้ในปีถัดไป ขอให้กระทรวงศึกษาธิการเสนอขอแปรญัติเพิ่มงบประมาณประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๘ จำนวน ๑๙,๐๕๗,๑๕๐ บาท และตั้งงบประมาณในปี ๒๕๓๙ จำนวน ๑๔,๓๔๒,๖๐๐ บาท
๖ กันยายน ๒๕๓๗
กองศาสนศึกษา กรมการศาสนา มีหนังสือที่ ศธ ๐๔๐๔/๑๒๐๗๗ ลงนาม โดย นายมาณพ พลไพรินทร์ ผู้อำนวยการกองศาสนศึกษา นมัสการ นายกสภา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แจ้งว่า “สำนักงบประมาณ แจ้งการจัดสรรงบ ประมาณในการจัดทำโครงการแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ”
๕ ตุลาคม ๒๕๓๗
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีหนังสือที่ มจร ๐๐๑/๑๒๓๕ ลงนามโดย พระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ) นายกสภามหาวิทยาลัย เจริญพร ฯพณฯ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ขอใช้งบกลางประจำปีงบประมาณ ๒๕๓๘ เพื่ออุดหนุนการ แปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทย เนื่องจากงบประมาณที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอขอแปรญัติเพิ่มเพื่อการนี้ จำนวน ๑๙,๐๕๗,๑๕๐ บาท ได้ถูกคณะกรรมาธิการตัดไปทั้งหมด เพื่อให้การดำเนินงานแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทยติดต่อสืบกันไป มหาวิทยาลัยจึง มีหนังสือเจริญพร ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้งบกลางต่อไป
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๗
พระอมรเมธาจารย์ (นคร เขมปาลี) อธิการบดี และประธานคณะกรรมการ อำนวยการโครงการชำระพระไตรปิฎกและคัมภีร์พุทธศาสน์ ได้เป็นประธานการชุมคณะกรรมการโครงการฯ ณ ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุ นายแสวง อุดมศรี เลขานุการคณะกรรมการบริหารโครงการแปลและจัดพิมพ์ พระไตรปิฎฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับเงินงบประมาณอุดหนุนโครงการฯ ที่มหาวิทยาลัยได้รับจากรัฐบาลในปีงบประมาณ ๒๕๓๗ จำนวน ๒,๑๒๗,๒๕๐ บาท และขออุปถัมภ์ในปีงบประมาณ ๒๕๓๘ เป็นเงิน ๑๙,๐๕๗,๑๕๐ บาท เลขานุการโครงการฯ ได้สรุปว่า ผลการดำเนินงานทั้งในส่วนการแปลและ ตรวจสำนวน ดำเนินไปด้วยดี แม้จะล่าช้าไปบ้าง แต่จะได้เร่งรัดให้งานดำเนินไปเร็ว ยิ่งขึ้นต่อไป
ธันวาคม ๒๕๓๗
สำนักนายกรัฐมนตรี มีหนังสือที่ ๐๑๐๔/๒๕๘๖๕ ลงนามโดย นายมนตรี เจนวิทย์การ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง นมัสการ พระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ) แจ้งว่า “นายกรัฐมนตรีมีบัญชาอนุมัติงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๘ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๑๒,๑๔๗,๑๕๐ บาท โดยให้กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ เบิกจ่ายให้กับ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
๑๑ มีนาคม ๒๕๓๘
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีหนังสือที่ ๐๐๑/๑๔๒๕ ลงนามโดย พระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตตสุทธิ) เจริญพร อธิบดีกรมการศาสนา ขออุปถัมภ์งบประมาณประจำปีงบประมาณ ๒๕๓๙ เพื่ออุดหนุนการแปลและจัดพิมพ์พระ ไตรปิฎกภาษาไทย สำหรับงบประมาณของโครงการฯ ปีที่ ๓ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของโครงการฯ เป็นจำนวนเงิน ๒๑,๒๕๒,๖๒๐ บาท
๑๖ สิงหาคม ๒๕๓๘
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีประกาศมหาวิทยาลัยที่ ๓๗/๒๕๓๘ ลงนาม โดยพระอมรเมธาจารย์ (นคร เขมปาลี) อธิการบดี แต่งตั้งคณะบรรณาธิการ พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน ๑๗ รูป/คน มีพระ เมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เป็นประธาน พระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ (ณรงค์ จิตฺตโสภโณ) เป็นรองประธาน พระศรีสุทธิพงศ์ (อาทร อินฺทปญฺโญ) เป็น บรรณาธิการและเลขานุการ พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ เป็นบรรณาธิการและผู้ช่วยเลขานุการ
๒๕ สิงหาคม ๒๕๓๘
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ประธานคณะบรรณาธิการพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ ได้เป็นประธานการประชุมคณะบรรณาธิการ ครั้งที่ ๑/๒๕๓๘ ณ ห้องประชุม ๒๐๙ อาคารมหาวิทยาลัย ที่ประชุมได้พิจารณาภารกิจของคณะบรรณาธิการ ที่สำคัญคือ ได้จัดให้มีคณะบรรณกรประจำปิฎกและประจำเล่ม
๑๔ กันยายน ๒๕๓๘
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีประกาศมหาวิทยาลัยที่ ๔๖/๒๕๓๘ ลงนาม โดยพระอมรเมธาจารย์ (นคร เขมปาลี) อธิการบดี แต่งตั้งคณะบรรณกรพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วยบรรณกร ๗ คณะ คือ
(๑) คณะบรรณกรพระวินัยปิฎก จำนวน ๗ รูป/คน มีพระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เป็นประธาน พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ เป็นบรรณกรและเลขานุการ
(๒) คณะบรรณกรพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย จำนวน ๕ รูป/คน มีพระ เมธีรัตนดิลก (จรรยา ชินวํโส) เป็นประธาน พระมหาคะนอง ปวฑฺฒโก เป็นบรรณกรและ เลขานุการ
(๓) คณะบรรณกรพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย จำนวน ๖ รูป/คน มี พระมหาสมชัย กุสลจิตฺโต เป็นประธาน นายสมบูรณ์ สมนวล เป็นบรรณกรและ เลขานุการ
(๔) คณะบรรณกรพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย จำนวน ๖ รูป/คน มี พระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ (ณรงค์ จิตฺตโสภโณ) เป็นประธาน พระมหาอุทัย ญาณธโร เป็นบรรณกรและเลขานุการ
(๕) คณะบรรณกรพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จำนวน ๖ รูป/คน มี พระมหาสันติ นาควโร เป็นประธาน พระมหานิรันดร์ นิรนฺตโร เป็นบรรณกรและ เลขานุการ
(๖) คณะบรรณกรพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จำนวน ๑๐ รูป/คน มี พระศรีสิทธิมุนี (มนู สุมโน) เป็นประธาน พระมหาบูรณะ ชาตเมโธ เป็นบรรณกรและเลขานุการ
(๗) คณะบรรณกรพระอภิธรรมปิฎก จำนวน ๑๒ รูป/คน มีพระศรีสุทธิพงศ์ (อาทร อินฺทปญฺโญ) เป็นประธาน นายมนัส จอดพิมาย เป็นบรรณกรและเลขานุการ
๒๘ กันยายน ๒๕๓๘
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ประธานคณะบรรณาธิการพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ ได้เป็นประธานการประชุมคณะบรรณาธิการ ครั้งที่ ๒/๒๕๓๘ ณ ห้องประชุม ๒๐๙ อาคารมหาวิทยาลัย ที่ประชุมได้สรุปการดำเนินงานสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๓๘ ที่สำคัญ คือมีการแต่งตั้งคณะบรรณกร ๗ คณะ และกำหนดกรอบในการดำเนินงาน ร่วมกันอย่างชัดเจน
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๙
๙ ตุลาคม ๒๕๓๙
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ทำสัญญาจ้างพิมพ์หนังสือพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยนายแสวง อุดมศรี ู้รับมอบอำนาจจากมหาวิทยาลัย เป็นผู้ว่าจ้างพิมพ์ กับนายดนสวัสดิ์ ชาติเมธี ผู้จัดการโรงพิมพ์ ผู้รับจ้างพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตกลงว่าจ้างพิมพ์หนังสือพระไตรปิฎก จำนวน ๒๗๐,๐๐๐ เล่ม ราคาประมาณเล่มละ ๙๘.๙๘ บาท ราคายกละ ๘,๔๘๓.๕๒ บาท รวมค่าพิมพ์ทั้งสิ้น ๒๖,๗๒๒,๙๘๐ บาท
๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๙
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีหนังสือที่ มจร ๐๐๑/๒๒๑๐ ถึงสำนักราช เลขาธิการ ขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส นำคณะ ประกอบด้วยภิกษุ ๑๔ รูป ฆราวาส ๗ คน เข้าเฝ้าฯ ถวาย พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ จำนวน ๓ เล่ม ได้แก่ พระวินัยปิฎก ๑ เล่ม พระสุตตันตปิฎก ๑ เล่ม และพระอภิธรรมปิฎก ๑ เล่ม
ปีพุทธศักราช ๒๕๔๐
๑๐ มกราคม ๒๕๔๐
สำนักราชเลขาธิการ มีหนังสือที่ รล ๐๐๐๓/๔๓๖ ลงนามโดยหลวงพีรพงษ์ เกษมศรี ราชเลขาธิการ เรียนผู้อำนวยการกองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรด ให้คณะบุคคลเข้าเฝ้า สมเด็จพระบรมโอรสาธิการ ฯ สยามมกุฎราชกุมาร แทนพระองค์ คณะบุคคลเข้าเฝ้า ประกอบด้วยพระภิกษุ ๑๔ รูป ฆราวาส จำนวน ๗ คน เฝ้าและเข้าเฝ้า ฯ ถวายพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ
๑๒ มกราคม ๒๕๔๐
กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีหนังสือที่ พว ๐๐๐๕/๘ ลงนามโดย พลตรี อารักษ์ โรจนุตมะ กรมวังผู้ใหญ่ประจำพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร นมัสการ พระ สุเมธาธิบดี(บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ) นายกสภามหาวิทยาลัย แจ้งว่า “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงรับปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ พระราชทานพระราชวโรกาสให้เข้าเฝ้า ฯ ในวันอังคารที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๓๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. ณ พระตำหนักนนทบุรี
๑๗ มกราคม ๒๕๔๐
สำนักราชเลขาธิการ มีหนังสือที่ รล ๐๐๐๔/๘๒๙ ลงนามโดยหม่อมพีรพงษ์ เกษมศรี ราชเลขาธิการ นมัสการ พระสุเมธาธิบดี นายกสภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แจ้งว่า “ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบ ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดให้เข้าเฝ้า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฏราชกุมาร แทนพระองค์ ซึ่งพระราชทานให้เข้าเฝ้า ในวัน อังคารที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๔๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. ณ พระตำหนักนนทบุรี
๒๘ มกราคม ๒๕๔๐
คณะผู้บริหารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน ๒๒ รูป/คน มีพระ สุเมธาธิบดี นายกสภามหาวิทยาลัยเป็นประธาน เฝ้าและเข้าเฝ้า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฏราชกุมาร เพื่อถวายพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มหาจุฬาฯ เวลา ๑๖.๓๐ น. ณ พระตำหนักนนทบุรี
ปีพุทธศักราช ๒๕๔๑-๔๒
๔ มิถุนายน ๒๕๔๑
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยนายเชน นคร ผู้จัดการ ได้ทำ สัญญาว่าจ้างบริษัท จงสุภาพ จำกัด โดยนายณรงค์ จงภักดีอักษร เป็นผู้ทำปก พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ จำนวน ๑๘๐,๐๐๐ เล่ม ราคา เล่มละ ๓๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๕,๔๐๐,๐๐๐ บาท
๓๐ กรกฎาคม ๒๕๔๒
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยคณะกรรมการบริหาร โครงการฯ ได้มอบต้นฉบับพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ ซึ่งเป็นชุดสุดท้ายแก่โรงพิมพ์ เพื่อจัดต่อไป
๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๒
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีหนังสือที่ ศธ ๑๗๐๐/๑๐๒๗ ลงนามโดย พระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตตสุทธิ) นายกสภามหาวิทยาลัย ถึงสำนักราชเลขาธิการ ทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นประธานในงานสมโภชพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ
๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๒
สำนักพระราชวัง มีหนังสือที่ รล ๐๐๐๘/๔๑๓๙ แจ้งให้มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทราบว่า “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเสด็จมาเป็นประธานในงานสมโภชพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มหาจุฬาฯ ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ มณฑลพิธี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
๒๐ กันยายน ๒๕๔๒
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีหนังสือที่ ศธ ๑๗๐๐/๑๐๘๙ ลง นามโดย พระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตตสุทธิ) นายกสภามหาวิทยาลัย ถึงกรมการศาสนา ให้นำความกราบทูลเชิญสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จเป็นองค์ประธานในการประทานพระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยแก่เจ้าคณะภาค และเจ้าคณะจังหวัดทั่วประเทศ ในวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ เวลา ๑๖.๐๐ น. ณ พระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราช รังสฤษฎิ์
๔ ตุลาคม ๒๕๔๒
กรมการศาสนาได้มีหนังสือที่ ศธ ๐๓๐๗/๑๖๖ แจ้งให้ทราบว่า สมเด็จ พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงรับอาราธนาเสด็จมาเป็นองค์ประธานในการประทานพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ ในวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ เวลา ๑๖.๐๐ น. ณ พระอุโบสถวัดมหาธาตุ
๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๒
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดงานสมโภชพระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ มณฑลพิธี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เวลา ๑๓.๓๐ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาเป็นประธานในพิธี พระราชทานของที่ระลึกแก่ผู้ถวายความอุปถัมภ์การแปล พระไตรปิฎก และทรงเปิดนิทรรศการ
๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๒
งานสมโภชพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ วันที่ ๒ ณ พระอุโบสถวัด มหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เวลา ๑๖.๓๐ น. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จมาเป็นประธานในพิธี ประทานพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ก่เจ้าคณะภาคและเจ้าคณะจังหวัดทั่วประเทศ